ปัญหาวัชพืช
ปัญหาวัชพืชที่ท้องนากลายเป็นการเพิ่มต้นทุนทั้งสารเคมีและค่าแรงงานที่มากกว่า 450 บาทต่อไร่ ตั้นทุนต่อไร่ที่สูงขึ้นส่งผลต่อราคาข้าวที่จำหน่าย สาเหตุที่วัชพืชเริ่มกลับมาอีกครั้ง อาจเกิดจากการนิยมทำนานหว่านและขาดแคลนน้ำในการควบคุมวัชพืช ตลอดจนการที่ชาวนาไม่ได้พักดินทำให้เมล็ดวัชพืชที่อยู่ในดินแฝงอยู่เกิดการเจริญมาพร้อม ๆ กับข้าว
วัชพืชที่พบได้ในนาของนายยินดี บ้านขี้เหล็กหมู่ 6 ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่
กกนาก มีประมาณ ร้อยละ 25 ของจำนวนวัชพืชทั้งหมด
กกขนาก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cyperus difformis L.
ชื่ออื่น
small flower umbrella plant หญ้าดอกต่อ, ผือน้อย
ประเภท/ชีพจักร
กก/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ลำต้นสามเหลี่ยมเว้าลึก ดอกเป็นแฉกทรงกลมสีเขียว
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินชื้นแฉะ
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านน้ำตม นาดำและนาหว่านข้าวแห้ง
ที่มา http://www.brrd.in.th/rkb/data_006/rice_xx2-06_NEWweedrice_08.html
รองลงมาที่พบ ร้อยละ 20
กกทราย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cyperus iria L.
ชื่ออื่น
umbrella sedge, rice flatsedge, กกแดง, หญ้ารังกา
ประเภท/ชีพจักร
กก/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ต้นอ่อนคล้ายหอกปลายแหลม ดอกเล็กเป็นช่อเรียงกัน 2 แถว สีเหลือง-น้ำตาล
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินเหนียวปนทรายและชื้น
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านน้ำตม นาหว่านข้าวแห้งและนาดำ
รองลงมาร้อยละ 21 คือ
เทียนนา ชาวบ้านขี้เหล็กเรียกว่า "ต้นไส้เอียน"
ชื่อวิทยาศาสตร์
Jussiaea linifolia Vahl
ชื่ออื่น
water primrose
ประเภท/ชีพจักร
ใบกว้าง/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสูง 25-70 ซ.ม. ขึ้นในที่ชื้น
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
เจริญเติบโตได้ในที่ชื้นหรือมีน้ำขัง
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาน้ำฝน
รองลงมา ร้อยละ 14 คือ ซ้ง
เซ่งใบมน ชาวบ้านขีเหล็กเรยกว่า "ต้นแมงขี้อ้น"
ชื่อวิทยาศาสตร์
Melochia corchorifolia L.
ชื่ออื่น
wire bush
ประเภท/ชีพจักร
ใบกว้าง/อายุปีเดียวและข้ามปี
ลักษณะเด่น
เติบโตในสภาพไร่ได้ หลังงอกหากมีน้ำขังก็ยังเจริญเติบโตได้
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ลุ่มและค่อนข้างดอน
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาน้ำฝน
รองลงมา ร้อยละ 8 คือ ผักบุ้ง
ผักบุ้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ipomoea aquatica Forsk.
ชื่ออื่น
swamp morning glory
ประเภท/ชีพจักร
ใบกว้าง/อายุข้ามปี
ลักษณะเด่น
มีลักษณะลำต้นกลวงลอยน้ำได้ อยู่ได้ในสภาพระดับน้ำลึก
ส่วนขยายพันธุ์
ลำต้น/ เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
นาน้ำลึกที่มีทั้งสภาพดินแห้ง, ชื้น และน้ำขังลึก
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาน้ำลึก นาหว่านข้าวแห้ง นาดำ
รองลงมาร้อยละ 7 คือ โสน
โสนหางไก่ ช้าวบ้านขี้เหล็กเรียกว่า "ต้นกะถินขี้นก"
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aeschynomene aspera L.
ชื่ออื่น
jointvetch
ประเภท/ชีพจักร
ใบกว้าง/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ต้นสูง ทนน้ำท่วม
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินชื้นแฉะหรือน้ำขัง
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านข้าวแห้ง
รองลงมาร้อยละ 5 คือ หนวดปลาดุก
หนวดปลาดุก ชาวบ้านมักเรียกว่า "หญ้าส้ม"
ชื่อวิทยาศาสตร์
Fimbristylis miliacea (L.) Vahl.
ชื่ออื่น
grass-like fimbristylis หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด
ประเภท/ชีพจักร
กก/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ต้นอ่อนแตกกอแนวเส้นตรงคล้ายพัด ดอกเป็นตุ่มสีน้ำตาล
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินชื้นไม่มีน้ำขัง
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านน้ำตม นาหว่านข้าวแห้งและนาดำ
รองลงมาร้อยละ 5 คือ หญ้าแดง
หญ้าแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ischaemum rugosum Salisb.
ชื่ออื่น
wrinkle duck-beak ,หญ้ากระดูกไก่, หญ้าก้านธูป, หญ้าสล้าง
ประเภท/ชีพจักร
หญ้า/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ลำต้นแนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
งอกได้ดีในดินชื้น
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านข้าวแห้งและนาหว่านน้ำตม
และอื่น ๆ เช่น
หญ้าปากควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dactyloctenium aegyptium (L.)P.Beauv
ชื่ออื่น
crowfoot grass
ประเภท/ชีพจักร
หญ้า/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ดอกเป็นสี่แฉก
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ที่ดอน ดินร่วนค่อนข้างแห้ง
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านข้าวแห้ง
ที่มา กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ที่มาของอำเภอรัตนบุรี
ประวัติความเป็นมาของอำเภอรัตนบุรี จากเอกสารฉลองครบรอบ 100 ปี อำเภอรัตนบุรี ทำให้ทราบว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2280 ตามที่ปรากฏในพงสาวดาร "หัวเมืองมณฑลอีสาน" ได้มีชนเผ่าที่เรียกตนเองว่า "ส่วย" หรือ "กูย" มีการพูดเป็นของตนเอง อพยพมาจากอัตปือแสนแปอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองจำปาศักดิ์ ฝั่งซ้ายน้ำโขงอาณาเขตสาธารณรัฐประชาชาชนลาวในปัจจุบัน เดินทางมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือประเทศไทยได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ มีหัวหน้าส่วยที่สำคัญ 6 คน ดังนี้
พวกที่ 1 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองที่ (บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์) หัวหน้าชื่"เชียงปุม"
พวกที่ 2 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดหมาย หรือเมืองเตา(อำเภอรัตนบุรี ปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสี" หรือ ตากะอาม"
พวกที่ 3 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสง"
พวกที่ 4 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกลำดวน(เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) หัวหน้าชื่อ "ตากะจะ" และ "เชียงขัน"
พวกที่ 5 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านอัจจะปะนึง หรือโคกอัจจะ(เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) หัวหน้าชื่อ "เชียงฆะ"
พวกที่ 6 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัด อำเภอศีขรภูมิปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงไชย" อำเภอรัตนบุรีในสมัยนั้น กลุ่มที่มาตั้งรกราก คือกลุ่มของ เชียงสี และพรรคพวกอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ฝั่งไทยเพื่อแสวงหาถิ่นอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร และปลูกบ้านเรือน และได้พบกับถิ่นอุดมสมบูรณ์ มีห้วยหนอง คลองบึง ป่าไม้ สัตว์ป่าจำพวกเต่าเป็นจำนวนมากจึงถิ่นฐานที่บ้านกุดหวาย หรือรัตนบุรีในปัจจุบัน เชียงสี เป็นคนมีวิชาอาคมมากซึ่งเป็นหัวหน้าทีม พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ และพระอนุชาได้ขอให้เชียงสีช่วยติดตามช้างให้ เชียงสีจึงรวมพรรคพวก ทั้ง 5 คน คือ เชียงปุม เชียงฆะ เชียงชัย เชียงขัน และเชียงสง ช่วยออกติดตามช้างจนถึงเขตแดนเขมรจึงจับช้างทรงได้คืน พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ได้ขอผูกเสี่ยว กับกลุ่มทั้ง 6 คน แล้วเสด็จกลับกรุงศรี และภายหลังเสี่ยวทั้ง 6 ได้รับพระราชทานยศฐาบรรดาศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง ยกฐานะหมู่บ้านเป็นเมืองขึ้นตรงต่อพิมาย ซึ่งเชียงสีได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขั้นหลวงมีชื่อใหม่ว่า "หลวงศรีนครเตา" ปกครองเมืองกุดหวาย หรือเมืองรัตนบุรี ด้วยความสงบสุขเรื่อยมา เชียงสีได้ส่งส่วยตามประเพณีเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีจนได้รับบรรดาศักดิ์สูงจาก "หลวง" เป็น "พระ" ปกครองเมืองเดิม และได้เพิ่มชื่อต่อท้ายว่า "ท้าวเธอ" เป็น พระศรีนครเตาท้าวเธอ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนบุรี" ตามชื่อของห้วยแก้วที่ขึ้นอยู่ 2 ฝั่งห้วยอย่างหนาแน่น ต่อมาพ.ศ. 2439 เมืองรัตนบุรี ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงกับจังหวัดบุรีรัมย์ และ ในปี พ.ศ. 2459 ได้โอนมาอยู่ในความปกครองของจังหวัดสุรินทร์ตราบปัจจุบันนี้ โดยมีนายอำเภอคนแรก คือ หลวงสรรพกิจ โกศล
ที่มา เอกสารนำเสนองานเลิมฉลองการก่อตั้งเมืองรัตนบุรี ครบ ๑๐๐ ปี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
พวกที่ 1 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองที่ (บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์) หัวหน้าชื่"เชียงปุม"
พวกที่ 2 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดหมาย หรือเมืองเตา(อำเภอรัตนบุรี ปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสี" หรือ ตากะอาม"
พวกที่ 3 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสง"
พวกที่ 4 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกลำดวน(เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) หัวหน้าชื่อ "ตากะจะ" และ "เชียงขัน"
พวกที่ 5 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านอัจจะปะนึง หรือโคกอัจจะ(เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) หัวหน้าชื่อ "เชียงฆะ"
พวกที่ 6 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัด อำเภอศีขรภูมิปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงไชย" อำเภอรัตนบุรีในสมัยนั้น กลุ่มที่มาตั้งรกราก คือกลุ่มของ เชียงสี และพรรคพวกอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ฝั่งไทยเพื่อแสวงหาถิ่นอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร และปลูกบ้านเรือน และได้พบกับถิ่นอุดมสมบูรณ์ มีห้วยหนอง คลองบึง ป่าไม้ สัตว์ป่าจำพวกเต่าเป็นจำนวนมากจึงถิ่นฐานที่บ้านกุดหวาย หรือรัตนบุรีในปัจจุบัน เชียงสี เป็นคนมีวิชาอาคมมากซึ่งเป็นหัวหน้าทีม พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ และพระอนุชาได้ขอให้เชียงสีช่วยติดตามช้างให้ เชียงสีจึงรวมพรรคพวก ทั้ง 5 คน คือ เชียงปุม เชียงฆะ เชียงชัย เชียงขัน และเชียงสง ช่วยออกติดตามช้างจนถึงเขตแดนเขมรจึงจับช้างทรงได้คืน พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ได้ขอผูกเสี่ยว กับกลุ่มทั้ง 6 คน แล้วเสด็จกลับกรุงศรี และภายหลังเสี่ยวทั้ง 6 ได้รับพระราชทานยศฐาบรรดาศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง ยกฐานะหมู่บ้านเป็นเมืองขึ้นตรงต่อพิมาย ซึ่งเชียงสีได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขั้นหลวงมีชื่อใหม่ว่า "หลวงศรีนครเตา" ปกครองเมืองกุดหวาย หรือเมืองรัตนบุรี ด้วยความสงบสุขเรื่อยมา เชียงสีได้ส่งส่วยตามประเพณีเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีจนได้รับบรรดาศักดิ์สูงจาก "หลวง" เป็น "พระ" ปกครองเมืองเดิม และได้เพิ่มชื่อต่อท้ายว่า "ท้าวเธอ" เป็น พระศรีนครเตาท้าวเธอ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนบุรี" ตามชื่อของห้วยแก้วที่ขึ้นอยู่ 2 ฝั่งห้วยอย่างหนาแน่น ต่อมาพ.ศ. 2439 เมืองรัตนบุรี ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงกับจังหวัดบุรีรัมย์ และ ในปี พ.ศ. 2459 ได้โอนมาอยู่ในความปกครองของจังหวัดสุรินทร์ตราบปัจจุบันนี้ โดยมีนายอำเภอคนแรก คือ หลวงสรรพกิจ โกศล
ที่มา เอกสารนำเสนองานเลิมฉลองการก่อตั้งเมืองรัตนบุรี ครบ ๑๐๐ ปี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ขายข้าวหอมมะลิเพื่อแลกปุ๋ย
ในวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 2533 นายยินดีได้นำข้าวจำนวน 154 ถุงปุ๋ย ช่างทีละ 4 -5 ถุง ได้รวมแล้ว 5,080 กิโลกรัม นำใส่รถหกล้อเก่าคู่ใจ Hino Km505 อายุกว่า ๒๕ ปี ออกเดินทางจากบ้านขี้เหล็ก หมู่ ๖ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เวลาประมาณ สิบนาฬิกา ถึงที่หมายอำเภอสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ไกลจากหมู่บ้าน 48 กิโลเมตร พอมาถึงเจ้าหน้าที่โรงสีข้าวแห่งหนึ่งก็ทำการวัดร้อยละของปริมาณข้าวสาร รอประมาณ ๑๕ นาที ผลก็ทราบว่า ร้อยละของข้าวสารนายยินดีอยู่ที่ ร้อยละ 24 ซึ่งหมายถึง ข้าวเปลือกจำนวน 100 กรัม มีข้าวสารที่ไม่แตกหักเลยอยู่ 24 กรัม
นายยินดีก็คำนวณปริมาณข้าวสารของตนเอง โดยเอา 5,080 กิโลกรัม * 24% เท่ากับ 1219.2 กิโลกรัม ที่เหลือจำนวน 3860.8 กิโลกรัม ก็ต้องทิ้งไป
โรงสีคำนวณราคาข้าวสารชั้น ๑ ที่ราคา 45.50 บาท ดังนั้นนายยินดีขายข้าวได้ กิโลกรัมละ 24 * 10 gram/kg(1000) * 38.50 B =10.68 บาท บวกด้วยแกลบและหัวรำได้อีก 1.25 บาท รวมเป็นเงิน ที่นายยินดีจะขายข้าวเปลือกหอมมะลิสุรินทร์ได้ราคา 10.86 + 1.25 = 12.11 บาท
นันหมายความว่าปริมาณข้าวอีกกว่า สามพันกิโลกรัมนั้นราคาเท่ากับแกลบ...
ความหวังว่าจะนำข้าวแลกป๋ยยูเรียที่ถุงละประมาณ 580 บาท ก็ต้องใช้เงินข้าอย่างน้อย 2 ถุงในการแลกซื้อ
ชีวิตที่เลือกได้และถูกเลือกได้เช่นกัน
นายยินดีก็คำนวณปริมาณข้าวสารของตนเอง โดยเอา 5,080 กิโลกรัม * 24% เท่ากับ 1219.2 กิโลกรัม ที่เหลือจำนวน 3860.8 กิโลกรัม ก็ต้องทิ้งไป
โรงสีคำนวณราคาข้าวสารชั้น ๑ ที่ราคา 45.50 บาท ดังนั้นนายยินดีขายข้าวได้ กิโลกรัมละ 24 * 10 gram/kg(1000) * 38.50 B =10.68 บาท บวกด้วยแกลบและหัวรำได้อีก 1.25 บาท รวมเป็นเงิน ที่นายยินดีจะขายข้าวเปลือกหอมมะลิสุรินทร์ได้ราคา 10.86 + 1.25 = 12.11 บาท
นันหมายความว่าปริมาณข้าวอีกกว่า สามพันกิโลกรัมนั้นราคาเท่ากับแกลบ...
ความหวังว่าจะนำข้าวแลกป๋ยยูเรียที่ถุงละประมาณ 580 บาท ก็ต้องใช้เงินข้าอย่างน้อย 2 ถุงในการแลกซื้อ
ชีวิตที่เลือกได้และถูกเลือกได้เช่นกัน
วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ปัญหาตอซังในนามีปริมาณที่มากเกินไป
จากประสบการณ์แปลงนาที่มีตอซังนานเกินห้าปี มีปัญหา รากข้าวเน่า แก้ไม่ตก อาจเป็นเพราะจุลินทรีย์ หรือ ซิลก้า มีปริมาณที่สูง ต่างจากแปลงนาที่มีการเผากลบ ชัดเจน ดังนั้นปริมาณตอซัง หรือฟางข้าที่พอเหมาะกับสภาพดิน จึงเป็นทางเลือก (ข้อมูลเบื้องต้น : สภาพดิน ชุดดินเหนียวปนทราย ปริมาณธาติอาหารต่ำ แถบลุ่มน้ำมูล อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ข้าวใบใหญ่ สูงประมาณ ๑๒๐-๑๗๐ ซ.ม. น้ำตลอดช่วงอายุข้าว-น้ำมาก ข้าวที่นิยมปลูกเป็นข้าวมะลิ ๑๐๕ หว่านก่อนเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือน พฤศจิกายน)
ผลผลิต เมล็ดข้าวเล็กเรียวโค้งสำหรับนาอินทรีย์ ถ้าเป็นนาผสมผสานเคมี ข้าวรวงใหญ่ เมล็ดอวบอ้วน ขาวตรงความโค้งน้อย ปริมาณมากกว่าเท่าตัว ข้าวสุกจะขาดความนุ่มนวลต่างกันอย่างชัดเจน
เรายังขาดข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณที่เหมาะสมของตอซัง ทั้ง ๆ สมมุติฐานของประโยชน์ตอซังกับแปลงนานั้นมากพอสมควร งานวิจัยที่ขาดความต่อเนื่องทำให้การนำความรู้ที่ได้ไปใช้แบบลองผิดลองถูกอีกเช่นเคย ไม่ทราบถึงปัจจัยแทรกซ้อนต่าง ๆ และการควบคุม ก็จะกลายเป็น จุลินทรีย์ระบาด มากกว่าประโยชน์เนื่องจากการขาดความรู้ที่เพียงพอต่อการจัดการ
ผลผลิต เมล็ดข้าวเล็กเรียวโค้งสำหรับนาอินทรีย์ ถ้าเป็นนาผสมผสานเคมี ข้าวรวงใหญ่ เมล็ดอวบอ้วน ขาวตรงความโค้งน้อย ปริมาณมากกว่าเท่าตัว ข้าวสุกจะขาดความนุ่มนวลต่างกันอย่างชัดเจน
เรายังขาดข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณที่เหมาะสมของตอซัง ทั้ง ๆ สมมุติฐานของประโยชน์ตอซังกับแปลงนานั้นมากพอสมควร งานวิจัยที่ขาดความต่อเนื่องทำให้การนำความรู้ที่ได้ไปใช้แบบลองผิดลองถูกอีกเช่นเคย ไม่ทราบถึงปัจจัยแทรกซ้อนต่าง ๆ และการควบคุม ก็จะกลายเป็น จุลินทรีย์ระบาด มากกว่าประโยชน์เนื่องจากการขาดความรู้ที่เพียงพอต่อการจัดการ
วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ลูกชาวนาหรือลูกเทวดา
เรื่องง่าย ๆ ของการทำนากลับกลายเป็นการมักง่ายของการทำนา
ถ้ากล่าวถึงความยากง่ายแล้ว การทำนาถือว่าเป็นเรื่องง่ายของชาวนา ตั้งแต่การเตรียมพันธุ์ข้าว เตรียมแปลงนา จัดการระบบน้ำ ดูแลรักษาและบำรุง การเก็บเกี่ยว ส่วนที่ยากของชาวนาที่แท้จริง คือการจัดจำหน่าย เมื่อชาวนาสามารถที่จผลิต เท่าไหร่ก็ได้ แต่ความสามารถเชิงการตลาดน้อยมาก
ผู้ที่ทำนาโดยลัดขั้นตอนต่าง ๆ หรือเพียงแค่ มุ่งแต่ด้านการเก็บและจำหน่ายเท่านั้น กลายเป็นผู้ประสบผลสำเร็จมากกว่าชาวนา จะทำอย่างไรให้กระบวนการทั้งหมดเป็นของชาวนาอย่างแท้จริง ถึงแม้นจะจัดตั้
สหกรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากความรู้ความเข้าใจ ของชาวนาที่มองเอกสาร หรือธุรกรรมต่าง ๆ เป็นความยาก
จะทำอย่างไร ชาวนาจะเข้าใจ
มีเพียงความหวังของชาวนาคือ ลูกชาวนา เขาภูมิใจไหมที่มีพ่อแม่เป็นชาวนา และลูกพร้อมที่จะสานต่ออาชีพชาวนาแทนบุพการ การจัดการศึกษาที่ทำให้ลูก ๆ ทิ้งความเป็นชาวนา นั้นหมายถึง วิชาชาวนาไม่มี
ความยั่งยืนจะยืนอยู่ได้ด้วยการสานต่อ เราจงมาร่วมสร้างวิถีของชาวนาด้วยชาวนาศึกษา
ถ้ากล่าวถึงความยากง่ายแล้ว การทำนาถือว่าเป็นเรื่องง่ายของชาวนา ตั้งแต่การเตรียมพันธุ์ข้าว เตรียมแปลงนา จัดการระบบน้ำ ดูแลรักษาและบำรุง การเก็บเกี่ยว ส่วนที่ยากของชาวนาที่แท้จริง คือการจัดจำหน่าย เมื่อชาวนาสามารถที่จผลิต เท่าไหร่ก็ได้ แต่ความสามารถเชิงการตลาดน้อยมาก
ผู้ที่ทำนาโดยลัดขั้นตอนต่าง ๆ หรือเพียงแค่ มุ่งแต่ด้านการเก็บและจำหน่ายเท่านั้น กลายเป็นผู้ประสบผลสำเร็จมากกว่าชาวนา จะทำอย่างไรให้กระบวนการทั้งหมดเป็นของชาวนาอย่างแท้จริง ถึงแม้นจะจัดตั้
สหกรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากความรู้ความเข้าใจ ของชาวนาที่มองเอกสาร หรือธุรกรรมต่าง ๆ เป็นความยาก
จะทำอย่างไร ชาวนาจะเข้าใจ
มีเพียงความหวังของชาวนาคือ ลูกชาวนา เขาภูมิใจไหมที่มีพ่อแม่เป็นชาวนา และลูกพร้อมที่จะสานต่ออาชีพชาวนาแทนบุพการ การจัดการศึกษาที่ทำให้ลูก ๆ ทิ้งความเป็นชาวนา นั้นหมายถึง วิชาชาวนาไม่มี
ความยั่งยืนจะยืนอยู่ได้ด้วยการสานต่อ เราจงมาร่วมสร้างวิถีของชาวนาด้วยชาวนาศึกษา
วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ข้อมูลน้ำอำเภอรัตนบุรี
ทรัพยากรน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญมี 3 สาย คือ 1) แม่น้ำ ไหลผ่านตอนเหนือของตำบลแก กุดขาคีม ทับใหญ่ ดอนแรด และหนองบัวทอง 2) ห้วยทับทัน ไหลผ่านทางด้านตะวันออกของอำเภอ ได้แก่ ตำบลเบิด หนองหลวง และธาตุ 3) ห้วยแก้ว ไหลผ่านตอนกลางของอำเภอ ได้แก่ ตำบลรัตนบุรี แก หนองบัวทอง และดอนแรด ใช้ประโยชน์ในการชลประทาน เพื่อการเกษตร และ การประปา
โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 8 แห่ง พื้นที่รับน้ำจำนวน 5,000 ไร่
1. ตำบลย่างว่าง จำนวน 2 จุด
2..ตำบลดอนแรด จำนวน 2 จุด
3.ตำบลเบิด จำนวน 1 แห่ง
4. ตำบลแก จำนวน 1 จุด
5.ตำบลกุดขาคีม จำนวน 1 จุด
แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญมี 3 สาย คือ 1) แม่น้ำ ไหลผ่านตอนเหนือของตำบลแก กุดขาคีม ทับใหญ่ ดอนแรด และหนองบัวทอง 2) ห้วยทับทัน ไหลผ่านทางด้านตะวันออกของอำเภอ ได้แก่ ตำบลเบิด หนองหลวง และธาตุ 3) ห้วยแก้ว ไหลผ่านตอนกลางของอำเภอ ได้แก่ ตำบลรัตนบุรี แก หนองบัวทอง และดอนแรด ใช้ประโยชน์ในการชลประทาน เพื่อการเกษตร และ การประปา
โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 8 แห่ง พื้นที่รับน้ำจำนวน 5,000 ไร่
1. ตำบลย่างว่าง จำนวน 2 จุด
2..ตำบลดอนแรด จำนวน 2 จุด
3.ตำบลเบิด จำนวน 1 แห่ง
4. ตำบลแก จำนวน 1 จุด
5.ตำบลกุดขาคีม จำนวน 1 จุด
ที่มา ข้อมุลสารสนเทศจังหวัดสุรินทร์ 2547
ความสมดใส
หลังจากฝนตกแล้ว ความสดใสกลับคืนสู่ท้องนาอีกครั้ง
ความหวัง ความฝัน ก็มุ่งทะยานต่อ
ชาวนามีเป้าหมายที่ชัดเจนในการผลิตข้าว
ข้าวแต่ละแปลงมีการบำรุงรักษาเปรียบเสมือนการดุแลญาติมิตร
ดังนั้น จึงตอบคำถามชาวนาได้ว่า
ทำไมชาวนายังต้องทำนา ทั้ง ๆ ที่ผลิตที่เป็นข้าวเปลือก แม้นมีราคาที่ต่ำก็ตาม
ชาวนาอยู่ได้ โรงสีข้าวก็ไปรอด
ชาติก้ดำรงได้อย่างมั่นคง
ความหวัง ความฝัน ก็มุ่งทะยานต่อ
ชาวนามีเป้าหมายที่ชัดเจนในการผลิตข้าว
ข้าวแต่ละแปลงมีการบำรุงรักษาเปรียบเสมือนการดุแลญาติมิตร
ดังนั้น จึงตอบคำถามชาวนาได้ว่า
ทำไมชาวนายังต้องทำนา ทั้ง ๆ ที่ผลิตที่เป็นข้าวเปลือก แม้นมีราคาที่ต่ำก็ตาม
ชาวนาอยู่ได้ โรงสีข้าวก็ไปรอด
ชาติก้ดำรงได้อย่างมั่นคง
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
แนวทางห่วน ๆ ในการเพิ่มมูลค่าข้าวแก่ชุมชนทางอ้อมและตรง
ราคาตลาดข้าวหอมมะลิที่ 13,500 บาทต่อตัน (ปริมาณข้าวสารชั้น1 ร้อยละ 40 ขึ้นไปเท่านั้น) จากนั้นราคาก็ลดลั่นตามร้อยละ 5% ที่มา ข้าวหอมสุรินทร์ 12 ก.ค. 53 ราคาตก เพราะ คนไทยกินข้าวน้อยลง กินแต่ผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลีมากขึ้น ก็เลยนำเข้าข้าวสาลีมากขึ้น มันราคาถูกกว่ากันเยอะ อีกทั้งกินข้าวเม้า หรือข้าวบาเลย์อีก (ผลิตเหล้าเบียร์)นำเข้าทั้งนั้น คนไทย กินข้าวหรือยัง... เคล็ดลับในการหุงข้าวหอมมะลิ คือ หุงพอดีน้ำ แบบไม่เช็ดน้ำ ใส่ใบเตยสด เมื่อข้าวใกล้สุก ข้าวจะต้องถูกขัดสีมาไม่เกิน 7 วัน ตามตำราตำข้าวสารกรอกหม้อ ได้คุณภาพข้าวหอมมากที่สุด เนื่องจากกรดไขมันจากข้าวยังไม่ถูกเปลี่ยนคุณภาพเนื่องจากจุลินทร์ทรีย์บางชนิด ข้าวหอมมะลิแดง มีธาตุเหล็กและธาตแมกนีเชียม ที่เหมาะสม ฉะนันคุณภาพของวิตามมิน B หลากชนิดก็คง ถ้านานเกิน วัน บางท่านอาจมีอาการแพ้ข้าวหอมนี้ กินให้เป็นยา ไม่ได้กินเพราะอวดมั่งมี ทำให้ราคาข้าวตกต่ำ ทางออกที่ดี ขอให้นักศึกษาหรือผูหัวดีทางการสร้างและออกแบบ ขอได้ผลิตเครื่องสีข้าวกรอหม้อ แบบมือถือ หรือแบบดัดแปลงจากเครื่องปั่ผลไม้ มาเป็นเครื่องสีข้าวกรอกหม้อ แล้ว โปรดักชั่นนี้ อาจจะทำให้ชาวนาได้ขายข้าเปลือกโดยตรงแก่ผู้บริโภค ไม่ต้องซื้อข้าวสารหอมมะลิ ราคาตั้ง กิโลกรัมละ 35 - 50 บาท โน้น ค่าการตลาดแพง แกลบแพง(ผลิตไฟฟ้า) รำแพง(อาหารสัตว์) ข้าวปลาย (ข้าวโอ๊ด) ข้าวราคาถูก รวมแล้ว กำไรเห็น ๆ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากข้าวถูกปิดบัง เพราะภาคเอกชนเขาทำกันเอง รัฐทำน้อย ความรู้สาธารณะก็น้อย แนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าก็น้อยตามไปด้วย การผลิตน้ำมันรำข้าวจากกระบวนการเผาแกลบได้พลังงานกล ไฟฟ้า พลังงานเคมี และอื่น ๆ รวมทั้งผลคาร์บอนที่มีคุณภาพ ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนได้จากการวิจัย แต่ความรู้นี้มักตกอยู่กับนายทุน กลายเป็นความรู้ที่ไม่มีค่าต่อสังคมโยตรง กลับถูกซ้ำเติมราคา
"ถึงเวลาหรือยังสำหรับงนวิจัยสาธารณะ ที่ทุกคนจะได้รับรู้รับทราบอย่างทั่วถึง" ขอส่งพลังใจสู่นักวิจัยเพื่อเกษตรกรไทยที่อุทิศตนแม่งบประมาณจะน้อยนิดก็ตาม คนไทย(รัฐ)อาจจะไม่เห็นค่า แต่ฝรั่งอิจฉาตาร้อนอยากมีพื้นนาข้าวอย่างคนไทย เพราะไทยคือดินแดนสุวรรณภูมิอย่างแท้จริง (ข้าวมีค่าดังทอง)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากข้าวถูกปิดบัง เพราะภาคเอกชนเขาทำกันเอง รัฐทำน้อย ความรู้สาธารณะก็น้อย แนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าก็น้อยตามไปด้วย การผลิตน้ำมันรำข้าวจากกระบวนการเผาแกลบได้พลังงานกล ไฟฟ้า พลังงานเคมี และอื่น ๆ รวมทั้งผลคาร์บอนที่มีคุณภาพ ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนได้จากการวิจัย แต่ความรู้นี้มักตกอยู่กับนายทุน กลายเป็นความรู้ที่ไม่มีค่าต่อสังคมโยตรง กลับถูกซ้ำเติมราคา
"ถึงเวลาหรือยังสำหรับงนวิจัยสาธารณะ ที่ทุกคนจะได้รับรู้รับทราบอย่างทั่วถึง" ขอส่งพลังใจสู่นักวิจัยเพื่อเกษตรกรไทยที่อุทิศตนแม่งบประมาณจะน้อยนิดก็ตาม คนไทย(รัฐ)อาจจะไม่เห็นค่า แต่ฝรั่งอิจฉาตาร้อนอยากมีพื้นนาข้าวอย่างคนไทย เพราะไทยคือดินแดนสุวรรณภูมิอย่างแท้จริง (ข้าวมีค่าดังทอง)
วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
แนวทางแก้ปัญหาภัยแล้งตามแบบนายยินดี
ปัญหาแล้งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคเกษตร อุตสากรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรจะโยงใยกันจนแยกไม่ออก ขาดน้ำเป็นต้นเหตุของปัญหา สิ่งที่เป็นปัญหาคือ พืชเพาะปลูกตาย สัตว์เลี้ยงตาย ผลผลิตตกต่ำ สินค้าราคาแพง กลายเป็นอุปสรรค ฉะนั้นคำว่าอุปสรรค หรือสิ่งที่ขวางกั้น ปิดกั้น ทางไปสู่เป้าหมายนั้นหมายถึงปัญหา เกษตรกรกำหนดปัญหาอย่างไร แนวทางที่จะใช้ได้ทันด่วนทำอย่างไร งบประมาณมากน้อยอย่างไร บริเวณใดที่รับผลตรงและบริเวณใดรับผลโดยอ้อม
การวางแผนเพื่อแก้ปัญหาต้องเริ่ม ทั้งจุดเล็ก ๆ จุดกลาง และจุดใหญ่ และสำคัญที่สุด คืดจุดแห่งความยั่งยืน ถามว่าเริ่มจุดใดก่อน ตอบยาก
ให้เริ่มพร้อมกัน
จุดเล็ก ได้แก่แหล่งบนดินและน้ำใต้ดินที่พอมีบรรเทา จัดสรรให้ ขุดบ่อน้ำทำแก้มเก็บ วิจัยศึกษาปัญหาเป็นกรณี
จุดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย การผันน้ำจากแหล่งที่มีพอเพียงที่อยู่ในระยะพิสัยพึงกระทำส่งผลน้อยกับสิ่งแวดล้อมระยะยาว ศึกษาวิจัยน้ำอย่างจริงจัง
จุดกลางการ สร้างแหล่งน้ำผิวดิน ใต้ดินที่มีระบบการจ่ายที่ควบคุมได้ ตั้งศูนย์อุตุนิยมวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมบริเวณตามประสิทธิภาพของเครื่องมือ รายงานผลข้อมูลความชื้นที่เป็นจริงปราศจากความเท็จเพื่อจุดประสงค์ประโยชน์ส่วนตน หรือศูนย์รวมวิจัย ที่สอดคล้องกับหน่วยงานธรณีวิทยา
จุดใหญ่เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของเขื่อน ตลอดจนการลดการผลิตกระแสไฟฟ้าลง แต่เพิ่มการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบวนกลับ(ย้อนกลับ แม้นจะลงทุนสูงแต่การหมุนเวียนน้ำจะมีค่า) สร้างการผันเก็บน้ำในรูปแบต่าง ๆ สร้างผืนป่าที่กำหนดทิศทางความชื้นของบริเวรณที่ควบคุมได้
จุดที่ยั่งยืนสร้างค่านิยมแห่งการอนุรักษ์ หรือวัฒนธรรมแห่งสายน้ำที่มีคุณค่าแก่การสืบทอดที่มั่นคงถาวร
ข้อเสนอดังกล่าวอาจใช้ไม่ได้ทั้งหมดแต่สิ่งที่เป็นค่านิยม หรือคุณค่าแห่งจิตใจ ทั้งชาติน่าจะสร้างได้ ไม่ว่าชาติใดก็สร้างได้เช่นกัน จุดนี้ก็เกิดจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลักปรัชญาดังกล่าวใช้ได้เมื่องบประมาณที่เกี่ยวข้องมีจำนวนจำกัดขอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเริ่มลงมือทำ เมื่อ "ทำได้ ถึงได้ช้า ดีกว่าทำไม่ได้ และไม่ได้ทำ"
ขอทรงพระเจริญ ด้วยกล้าวด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ นามปากกา นายยินดี
การวางแผนเพื่อแก้ปัญหาต้องเริ่ม ทั้งจุดเล็ก ๆ จุดกลาง และจุดใหญ่ และสำคัญที่สุด คืดจุดแห่งความยั่งยืน ถามว่าเริ่มจุดใดก่อน ตอบยาก
ให้เริ่มพร้อมกัน
จุดเล็ก ได้แก่แหล่งบนดินและน้ำใต้ดินที่พอมีบรรเทา จัดสรรให้ ขุดบ่อน้ำทำแก้มเก็บ วิจัยศึกษาปัญหาเป็นกรณี
จุดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย การผันน้ำจากแหล่งที่มีพอเพียงที่อยู่ในระยะพิสัยพึงกระทำส่งผลน้อยกับสิ่งแวดล้อมระยะยาว ศึกษาวิจัยน้ำอย่างจริงจัง
จุดกลางการ สร้างแหล่งน้ำผิวดิน ใต้ดินที่มีระบบการจ่ายที่ควบคุมได้ ตั้งศูนย์อุตุนิยมวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมบริเวณตามประสิทธิภาพของเครื่องมือ รายงานผลข้อมูลความชื้นที่เป็นจริงปราศจากความเท็จเพื่อจุดประสงค์ประโยชน์ส่วนตน หรือศูนย์รวมวิจัย ที่สอดคล้องกับหน่วยงานธรณีวิทยา
จุดใหญ่เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของเขื่อน ตลอดจนการลดการผลิตกระแสไฟฟ้าลง แต่เพิ่มการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบวนกลับ(ย้อนกลับ แม้นจะลงทุนสูงแต่การหมุนเวียนน้ำจะมีค่า) สร้างการผันเก็บน้ำในรูปแบต่าง ๆ สร้างผืนป่าที่กำหนดทิศทางความชื้นของบริเวรณที่ควบคุมได้
จุดที่ยั่งยืนสร้างค่านิยมแห่งการอนุรักษ์ หรือวัฒนธรรมแห่งสายน้ำที่มีคุณค่าแก่การสืบทอดที่มั่นคงถาวร
ข้อเสนอดังกล่าวอาจใช้ไม่ได้ทั้งหมดแต่สิ่งที่เป็นค่านิยม หรือคุณค่าแห่งจิตใจ ทั้งชาติน่าจะสร้างได้ ไม่ว่าชาติใดก็สร้างได้เช่นกัน จุดนี้ก็เกิดจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลักปรัชญาดังกล่าวใช้ได้เมื่องบประมาณที่เกี่ยวข้องมีจำนวนจำกัดขอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเริ่มลงมือทำ เมื่อ "ทำได้ ถึงได้ช้า ดีกว่าทำไม่ได้ และไม่ได้ทำ"
ขอทรงพระเจริญ ด้วยกล้าวด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ นามปากกา นายยินดี
วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การขาดสมดุลอุทกสถิต
ปัญหาขาดแคลนน้ำของเกษตรกรกำกลังเป็นปัญหาวิกิตของชาติที่ทุกฝ่ายควรมาร่วมมือแก้ปัญหา อย่างน้อย ๆ ก้บรรเทาได้บ้าง และร่วมกันวางแผนเผื่ออนาคต หรือที่เรียกว่า แผนแห่งการสร้างความยั่งยืน ผมได้ลงมือนำนาประมาณ 10 ปี ถือว่าประสบการณ์นาลุมน้ำมูล ได้พบปัญหาในแต่ละปีแตกต่างกันในรายละเอียดโยสิ้นเชิง แต่ปัญหารวม ๆ จะอยู่ที่การบริหารจัดการน้ำ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผม(นายยินดี) ได้ปรับพื้นที่นาแต่ละแปลงมีบ่อน้ำเล็ก ๆ ขนาดกินพื้นที่ ประมาณ ๕ - ๑๐ % เพื่อเก็บกักน้ำ ตลอดจนเป็นบ่อปลาที่ได้ประโยชน์หลังฤดูการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๓ จนถึง ๒๕๕๓ ได้ใช้ประโยชน์ตรงในการสูบน้ำเพื่อเลียงต้นข้าว ๔ ครั้ง ปีที่ได้ใช้งานจริง ๒๕๔๓ สภาพบ่อใหม่และพร้อมใช้ ๒๕๔๕ น้ำท่วม ๒๕๔๖-๒๕๔๗ ได้ใช้แต่ไม่เพียงพอ ๒๕๔๘-๒๕๕๐ น้ำท่วม ๒๕๕๑-๒๕๕๒ ได้ใช้งานเต็มที่ โดยใช้งบประมาณในการขุดบ่อ รวม ๒๔๖,๐๐๐ บาท(งบประมาณจากรัฐสนับสนุน ๑๕๐,๐๐๐ บาท และงบส่วนตัว) รวม ๕ บ่อ และมีแผนขุดลอกเพิ่มอีก ๓ บ่อ นอกจากนี้แล้วยังได้งบประมาณเป็นค่าชดเชยอุทกภัยในแต่ละปีสำหรับบ่อเลี้ยงปลาของรัฐแตกต่างกันในแต่ละปี
การได้รับเงินชดเชยดังกล่าวจากรัฐหลาย ๆ อย่างรวมกันแก่เกษตรกร มากพอสมควร ผมสวมบททั้งข้าราชการครูและชาวนายังรับรู้ว่าชาวนานั้นได้รับการช่วยเหลือเงินมาโดยตลอด เหตุผลที่ชาวนาจนผมทราบดี ถ้าชาวนาที่แท้จริงมักจะร่ำรวยเสมอ
การจัดการน้ำที่ได้พึ่งตนเองด้วยบ่อก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาน้ำในระยะยาวได้เนื่องจาก ปริมาณน้ำที่มากในแต่ละปี และที่น้อยจนขาดแคลนบางปี จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการเก็บกักน้ำมากเช่นเดียวกัน ถ้าหากรัฐบาลหันความสมใจและตระหนักความสำคัญของสมดุลน้ำใต้ดิน การรักษาความชุ่มชื้นของดิน มีค่ามากกว่าแอ่งน้ำบนผิวดิน เนื่องจากปัจจัยเสียงของน้ำท่วมเกือบจะไม่มี การเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เมื่อนำน้ำใต้ดินไปใช้มาก ๆ ปัญหาน้ำใต้ดินขาดแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาแอ่งน้ำใต้ดินมีขนาดลดลง เพราะดินทรุดลง อย่าง ช้า ๆ หรือไม่ก็เกิดแอ่ง หลุ่ม ลึก โดยไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ที่มีความรู้และสนใจเขื่อใต้ดินเรายังล้าหลัง แม้กระทั่งประเทศเล็ก อย่างสิงคโปร์ ยังมีเขื่อน้ำจืดใต้ทะเลที่มีปริมาณเลี้ยงดูประชากรเขาได้เกือบสิบปี คงไม่ยากน่ะที่นักการเมืองจะเปิดใจ อย่าคิดแต่ว่าทำสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา ก็มักจะคอรัปชั้นกัน อย่างเช่นกรรณีขุดเจาะบ่อบาดาลที่ใช้การไม่ได้มากกว่าร้อยละ ๖๐ เนื่องจากเราขาดข้อมูลที่แท้จริงทางธรณีวิทยานั่นเอง
ปัญหาการขาดแคลนของแหล่งน้ำใต้ดิน เนื่องจากการใช้ในปริมาณที่มาก เกินไป การเติมน้ำเข้าไปรัฐกับให้ใช้ระบบธรรมชาติ มนุษย์ดึงน้ำออกไปใช้ แต่ปล่อยให้ธรรมเป็นผู้เติมน้ำสู่แงใต้ดิน หรือน้ำใต้ดิน การขาดดุลที่ไม่เป็นธรรม
วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เลือนทำนาปี เลื่อนการเกี่ยวข้าวนาปี ชาวนาทำใจได้จริง?
ภาวะการขาดแคลนน้ำเนื่องจากฝนทิ้งช่วงมานานกว่า 60 วัน ทำให้ข้าวหอมมะลิของชานาบ้านขี้เหล็ก หมู่ 6 ตำบลแก อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ เริ่มที่จะแห้ง เหี่ยวฉาตาย แตกต่างกันตามลักษณะภูมิศาสตร์ สูงต่ำ การซึมซับน้ำ หรือบริเวรณร่องน้ำใต้ดิน
คำว่าร่องน้ำใต้ดินถามชาวบ้าน ตอบได้เลยว่าไม่รู้จัก เขารู้จักเพียงแต่แหล่งน้ำบาดาล ชาวบ้านมักสังสัยว่า น้ำใต้ดินมันไหลเป็นด้วยหรือ ?
ความรู้วิทยาศาสตร์ของชาวบ้านยังไม่ถึง แต่สามารถทราบได้จากภูมิปัญญาเก่าแก่ถึงแหล่งน้ำซับ ซึ่งแหล่งน้ำซับดังกล่าวก้น่าจะไหลมาจากที่สูงแห่งใกแห่งหนึ่งนั่นเอง แหล่งน้ำที่เก็บในที่สูงมีอยู่ที่ใด...
ชาวบ้านบ้างก็ตอบ อยู่บนฟ้า บ้างก็ตอบอยู่บนภูเขา ความสามารถเท่ากับนักเรียนชั้น ป๔ ตอบ สบายมาก แต่ชาวบ้านที่มีมุมมองทางการเมืองตอบเสียงเดียวกันว่า น้ำอยู่บนรัฐบาล ผมงง...
เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ปัญหาภัยแล้งมาจากการจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล(ข้อสรุปที่ฟังและจับประเด็นได้) คำว่าไม่มีประสิทธิภาพ คือ รุกพื้นที่ป่า ออกกเอกสารสิทธิ์เร่งด่วนบางพื้นที่ ถมคูคลองเพื่อสร้างแหล่งโรงงาน สุรินทร์อินทรียอุตสาหกรรม เป็นคำที่เข้ากันได้ ในสุรินทร์ แหล่งน้ำไม่ได้เพิ่มจุดที่สำคัญ ไม่ศึกษาแหล่งน้ำดังเดิม ขุดลอกบริเวณที่คอรับชั่นได้ง่ายเท่านั้น... ซึ่งอื่น ๆ เขียนบรรยายได้ยาก เป็นภาษาพื้นบ้าน
การซ้ำเติมปัญหาด้วยการหันเห หรือลดละเลิกการทำนาระยะสั้น ด้วยการเลื่อนการทำนาปี เป็นสิ่งที่ยากกว่าการทำนาปรัง เพราะพันธุ์ข้าวที่เป็นพันธุ์ไวแสง จะสุกงอมตามวันเวลาที่เป็นฤดูกาลเท่านั้น จึงเรียกว่านาปี ปลูกข้าวมกราคม หรือเดือน สิงหาคม ข้าวก็ออกรวงสุกงอม เดือนพฤศจิกายนเท่ากัน ข้าวสาว ข้าวแก่ ข้าวเด็ก ออกรวงก็มีคุณภาพแตกต่างกัน
๑.การแก้ปัญการะยะสั้นเร่งด่วนที่สุดที่น่าจะทำได้จริงในเวลานี้ เริ่มสร้างแอ่งเก็บน้ำขนาดเล็ก ถึงกลาง เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่คาดว่าอาจจะมาในเวลาไม่ช้านี้
๒.ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำที่มีอยู่จำกับให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์พืช
๓.ส่งถ่ายแหล่งน้ำด้วยระบบชลประทานแบบเปิด และระบบปิด
๔.เสริมเทคโนโลยีการควบคุมน้ำ
๕.วิจัยแหล่งน้ำ ทั้งบนดิน ใต้ดิน และอากาศอย่างเป็นระบบ
ระยะยาว
๑.สร้างความรู้ที่ยังยืนในการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตั้งแต่ในระบบโรงเรียน ชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้าน
๒.วิจัยอย่างต่อเนื่อง
๓.กำหนดแผนการจัดการน้ำร่วมกันทุกฝ่ายชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้านชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้าน
๔.กำหนดหรือแผนการผลิตพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ยั่งยืน
เมื่อปัญหาเกิดแล้ว สิ่งที่คนไทยช่วยกันได้อย่างดีที่สุด คือ เต็มใจรับสภาพ และหันมาร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหา ถึงแม้การแก้ปัญหาเฉพาะนั้นจะเป็นได้น้อยหรือมากก็ตาม มิตรภาพดีต่อกัน คือน้ำที่ไม่เคยแล้งจากเมืองไทย
คำว่าร่องน้ำใต้ดินถามชาวบ้าน ตอบได้เลยว่าไม่รู้จัก เขารู้จักเพียงแต่แหล่งน้ำบาดาล ชาวบ้านมักสังสัยว่า น้ำใต้ดินมันไหลเป็นด้วยหรือ ?
ความรู้วิทยาศาสตร์ของชาวบ้านยังไม่ถึง แต่สามารถทราบได้จากภูมิปัญญาเก่าแก่ถึงแหล่งน้ำซับ ซึ่งแหล่งน้ำซับดังกล่าวก้น่าจะไหลมาจากที่สูงแห่งใกแห่งหนึ่งนั่นเอง แหล่งน้ำที่เก็บในที่สูงมีอยู่ที่ใด...
ชาวบ้านบ้างก็ตอบ อยู่บนฟ้า บ้างก็ตอบอยู่บนภูเขา ความสามารถเท่ากับนักเรียนชั้น ป๔ ตอบ สบายมาก แต่ชาวบ้านที่มีมุมมองทางการเมืองตอบเสียงเดียวกันว่า น้ำอยู่บนรัฐบาล ผมงง...
เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ปัญหาภัยแล้งมาจากการจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล(ข้อสรุปที่ฟังและจับประเด็นได้) คำว่าไม่มีประสิทธิภาพ คือ รุกพื้นที่ป่า ออกกเอกสารสิทธิ์เร่งด่วนบางพื้นที่ ถมคูคลองเพื่อสร้างแหล่งโรงงาน สุรินทร์อินทรียอุตสาหกรรม เป็นคำที่เข้ากันได้ ในสุรินทร์ แหล่งน้ำไม่ได้เพิ่มจุดที่สำคัญ ไม่ศึกษาแหล่งน้ำดังเดิม ขุดลอกบริเวณที่คอรับชั่นได้ง่ายเท่านั้น... ซึ่งอื่น ๆ เขียนบรรยายได้ยาก เป็นภาษาพื้นบ้าน
การซ้ำเติมปัญหาด้วยการหันเห หรือลดละเลิกการทำนาระยะสั้น ด้วยการเลื่อนการทำนาปี เป็นสิ่งที่ยากกว่าการทำนาปรัง เพราะพันธุ์ข้าวที่เป็นพันธุ์ไวแสง จะสุกงอมตามวันเวลาที่เป็นฤดูกาลเท่านั้น จึงเรียกว่านาปี ปลูกข้าวมกราคม หรือเดือน สิงหาคม ข้าวก็ออกรวงสุกงอม เดือนพฤศจิกายนเท่ากัน ข้าวสาว ข้าวแก่ ข้าวเด็ก ออกรวงก็มีคุณภาพแตกต่างกัน
๑.การแก้ปัญการะยะสั้นเร่งด่วนที่สุดที่น่าจะทำได้จริงในเวลานี้ เริ่มสร้างแอ่งเก็บน้ำขนาดเล็ก ถึงกลาง เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่คาดว่าอาจจะมาในเวลาไม่ช้านี้
๒.ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำที่มีอยู่จำกับให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์พืช
๓.ส่งถ่ายแหล่งน้ำด้วยระบบชลประทานแบบเปิด และระบบปิด
๔.เสริมเทคโนโลยีการควบคุมน้ำ
๕.วิจัยแหล่งน้ำ ทั้งบนดิน ใต้ดิน และอากาศอย่างเป็นระบบ
ระยะยาว
๑.สร้างความรู้ที่ยังยืนในการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตั้งแต่ในระบบโรงเรียน ชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้าน
๒.วิจัยอย่างต่อเนื่อง
๓.กำหนดแผนการจัดการน้ำร่วมกันทุกฝ่ายชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้านชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้าน
๔.กำหนดหรือแผนการผลิตพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ยั่งยืน
เมื่อปัญหาเกิดแล้ว สิ่งที่คนไทยช่วยกันได้อย่างดีที่สุด คือ เต็มใจรับสภาพ และหันมาร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหา ถึงแม้การแก้ปัญหาเฉพาะนั้นจะเป็นได้น้อยหรือมากก็ตาม มิตรภาพดีต่อกัน คือน้ำที่ไม่เคยแล้งจากเมืองไทย
วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ช่วงหว่านข้าว
บ้านขี้เหล็ก หมู่ 6 ตำบลแก เริ่มได้เวลาหว่านข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ข้าว กข 105 ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม 2553 - 7 มิถุนายน 2553 เกษตรกรบางคนก็ใช้การหว่านข้าวแห้ง นาที่ลุมก็หว่านแบบข้าวแช่ แตกต่างกันไม่มาก ชาวบ้านเนื้อที่ประมาณ 1560 ไร่ พร้อมพื้นที่ใกล้เคียง นิยมใช้วิธีหวานแล้วปั่นด้วยเครื่องจักจอบหมุนติดแทรกเตอร์ ข้าวงอกขึ้นสวยงามมาก ชาวนาอ่นใจ
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
ไฟไหม้ฟาง
ถึงช่วงฤดูกาลปรับพื้นที่นา เพื่อเตรียมแปลงให้เหมาะแก่การเพาะปลูก จำเป็นต้องมีการไถกลบฟาง
แต่เจ้าฟางที่ถูกทิ้งร้างข้ามปีฤดูกาล กำลังก่อปัญหา ฝุ่น ควัน ฟุ้ง ลุก ลาม ไปเป็นปัญหาอื่น ๆ ตามมาเช่น
อุบัติเหตุตามท้องถนน แค่ควัน... ทำคนตายมาเป็นร้อย ๆ
ช่วยหาทางทำให้ฟางมีมูลค่าหน่อย ถ้ามีคนสนใจ ฟางเส้นเดียวก็ไม่หลงเหลือแน่ อย่าปล่อยให้แต่เจ้าทุยเท่านั้นที่เห็นค่า เราเป็นมนุษย์ที่ฉลาด คงช่วยได้
ปัญหาแบบไฟไหม้ฟางก็จะหมดไป
แต่เจ้าฟางที่ถูกทิ้งร้างข้ามปีฤดูกาล กำลังก่อปัญหา ฝุ่น ควัน ฟุ้ง ลุก ลาม ไปเป็นปัญหาอื่น ๆ ตามมาเช่น
อุบัติเหตุตามท้องถนน แค่ควัน... ทำคนตายมาเป็นร้อย ๆ
ช่วยหาทางทำให้ฟางมีมูลค่าหน่อย ถ้ามีคนสนใจ ฟางเส้นเดียวก็ไม่หลงเหลือแน่ อย่าปล่อยให้แต่เจ้าทุยเท่านั้นที่เห็นค่า เราเป็นมนุษย์ที่ฉลาด คงช่วยได้
ปัญหาแบบไฟไหม้ฟางก็จะหมดไป
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553
บทบาทใต้เบื้องพระยุคลบาทของชนชาวไทย
การได้มีโอกาสทำนา ปลูกข้าวเป้นความสุขอย่างหนึ่งที่ได้มีโอกาสให้ เช่นเดียวกับข้าวที่เป็นผุ้ให้ จึงได้ชื่อว่า พระคุรแม่แห่งข้าว หรือที่เรียกขานว่า พระแม่โพสพ คือ เทวดาแห่งพืชพรรณธัญหาญทั้งปวง พระคุณที่ขึ้นด้วยคำว่าแม่ จึงยิ่งใหญ่
เราคนไทยมีความโชคดี ยิ่ง เมื่อประมุขของประเทศ อย่างองค์ประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีสายพระเนตรที่ยั่งยืนและให้ความสำคัญของน้ำ แม่แห่งน้ำบ่อเกิดแม่แห่งข้าวเช่นเดียวกัน เราคนไทยมีความภูมิใจยิ่ง ในความอัฉริยภาพของพระองค์ท่าน
ขอพระองค์ทรงพระจเริญยิ่งยืนนาน
เราคนไทยมีความโชคดี ยิ่ง เมื่อประมุขของประเทศ อย่างองค์ประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีสายพระเนตรที่ยั่งยืนและให้ความสำคัญของน้ำ แม่แห่งน้ำบ่อเกิดแม่แห่งข้าวเช่นเดียวกัน เราคนไทยมีความภูมิใจยิ่ง ในความอัฉริยภาพของพระองค์ท่าน
ขอพระองค์ทรงพระจเริญยิ่งยืนนาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)