วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เลือนทำนาปี เลื่อนการเกี่ยวข้าวนาปี ชาวนาทำใจได้จริง?

ภาวะการขาดแคลนน้ำเนื่องจากฝนทิ้งช่วงมานานกว่า 60 วัน ทำให้ข้าวหอมมะลิของชานาบ้านขี้เหล็ก หมู่ 6 ตำบลแก อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ เริ่มที่จะแห้ง เหี่ยวฉาตาย แตกต่างกันตามลักษณะภูมิศาสตร์ สูงต่ำ การซึมซับน้ำ หรือบริเวรณร่องน้ำใต้ดิน
คำว่าร่องน้ำใต้ดินถามชาวบ้าน ตอบได้เลยว่าไม่รู้จัก เขารู้จักเพียงแต่แหล่งน้ำบาดาล ชาวบ้านมักสังสัยว่า น้ำใต้ดินมันไหลเป็นด้วยหรือ ?
ความรู้วิทยาศาสตร์ของชาวบ้านยังไม่ถึง แต่สามารถทราบได้จากภูมิปัญญาเก่าแก่ถึงแหล่งน้ำซับ ซึ่งแหล่งน้ำซับดังกล่าวก้น่าจะไหลมาจากที่สูงแห่งใกแห่งหนึ่งนั่นเอง แหล่งน้ำที่เก็บในที่สูงมีอยู่ที่ใด...
ชาวบ้านบ้างก็ตอบ อยู่บนฟ้า บ้างก็ตอบอยู่บนภูเขา ความสามารถเท่ากับนักเรียนชั้น ป๔ ตอบ สบายมาก แต่ชาวบ้านที่มีมุมมองทางการเมืองตอบเสียงเดียวกันว่า น้ำอยู่บนรัฐบาล ผมงง...
เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ปัญหาภัยแล้งมาจากการจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล(ข้อสรุปที่ฟังและจับประเด็นได้) คำว่าไม่มีประสิทธิภาพ คือ รุกพื้นที่ป่า ออกกเอกสารสิทธิ์เร่งด่วนบางพื้นที่ ถมคูคลองเพื่อสร้างแหล่งโรงงาน สุรินทร์อินทรียอุตสาหกรรม เป็นคำที่เข้ากันได้ ในสุรินทร์ แหล่งน้ำไม่ได้เพิ่มจุดที่สำคัญ ไม่ศึกษาแหล่งน้ำดังเดิม ขุดลอกบริเวณที่คอรับชั่นได้ง่ายเท่านั้น... ซึ่งอื่น ๆ เขียนบรรยายได้ยาก เป็นภาษาพื้นบ้าน
การซ้ำเติมปัญหาด้วยการหันเห หรือลดละเลิกการทำนาระยะสั้น ด้วยการเลื่อนการทำนาปี เป็นสิ่งที่ยากกว่าการทำนาปรัง เพราะพันธุ์ข้าวที่เป็นพันธุ์ไวแสง จะสุกงอมตามวันเวลาที่เป็นฤดูกาลเท่านั้น จึงเรียกว่านาปี ปลูกข้าวมกราคม หรือเดือน สิงหาคม ข้าวก็ออกรวงสุกงอม เดือนพฤศจิกายนเท่ากัน ข้าวสาว ข้าวแก่ ข้าวเด็ก ออกรวงก็มีคุณภาพแตกต่างกัน
๑.การแก้ปัญการะยะสั้นเร่งด่วนที่สุดที่น่าจะทำได้จริงในเวลานี้ เริ่มสร้างแอ่งเก็บน้ำขนาดเล็ก ถึงกลาง เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่คาดว่าอาจจะมาในเวลาไม่ช้านี้
๒.ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำที่มีอยู่จำกับให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์พืช
๓.ส่งถ่ายแหล่งน้ำด้วยระบบชลประทานแบบเปิด และระบบปิด
๔.เสริมเทคโนโลยีการควบคุมน้ำ
๕.วิจัยแหล่งน้ำ ทั้งบนดิน ใต้ดิน และอากาศอย่างเป็นระบบ
ระยะยาว
๑.สร้างความรู้ที่ยังยืนในการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตั้งแต่ในระบบโรงเรียน ชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้าน
๒.วิจัยอย่างต่อเนื่อง
๓.กำหนดแผนการจัดการน้ำร่วมกันทุกฝ่ายชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้านชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้าน
๔.กำหนดหรือแผนการผลิตพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ยั่งยืน
เมื่อปัญหาเกิดแล้ว สิ่งที่คนไทยช่วยกันได้อย่างดีที่สุด คือ เต็มใจรับสภาพ และหันมาร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหา ถึงแม้การแก้ปัญหาเฉพาะนั้นจะเป็นได้น้อยหรือมากก็ตาม มิตรภาพดีต่อกัน คือน้ำที่ไม่เคยแล้งจากเมืองไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น