วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขุดบ่อน้ำตามโครงการแหล่งน้ำในไร่นาขอกเขตชลประทาน


        ประเทศไทย มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ ๑๕๑.๙๒ ล้านไร่ ซึ่งภายใต้พื้นที่การเกษตรดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่มีระบบชลประทานประมาณ ๒๙.๓๔ ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๓๑ ของพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนพื้นที่ที่เหลือ ๑๒๒.๕๘ ล้านไร่หรือร้อยละ ๘๐.๖๙ เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน นอกจากนี้ภายใต้ พื้นที่ เกษตรกรรม ที่ มี การ พัฒนา ระบบ ชลประทาน แล้วยังมีพื้นที่ชลประทานบางส่วนที่มีปัญหาการ ขาดแคลนน้ำ มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรไม่เพียงพอตลอดทั้งปีขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง น้ำจัดเป็นปัจจัย สำคัญในระบบการผลิตทางการเกษตรและเป็นสิ่งจำเป็นในการอุปโภค และบริโภคส่งผลต่อความ เจริญทางเ ศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบหมายกรมพัฒนาที่ดินจัดทำ
โครงการแหล่งน้ำในไร่นา นอกเขตชลประทาน โดยการขุดสระน้ำในไร่ นาขนาด ๑,๒๖๐ ลูกบาศก์เมตร และ ให้ เกษตรกร มี ส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่าย ๒,๕๐๐ บาท/บ่อ โดย มี วัตถุประสงค์ เพื่อ เป็นการ บรรเทา สภาพ ปัญหา ภัย แล้ง การ ขาดแคลน น้ำ และ เพิ่ม ประสิทธิภาพการ เก็บ กัก น้ำ ใน พื้นที่ ทำการ เกษตร ของ เกษตรกร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ และกรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการ ก่อสร้าง
แหล่งน้ำในไร่นาไปแล้วบางส่วนแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ กรม พัฒนาที่ดิน ได้รับ เป้าหมายดำเนินการจำนวน ๘๐,๐๐๐ บ่อ
ที่มา กรมพัฒนาที่ดิน กรทรวงเกษตรและสหกรณ์(๒๕๕๖ : ๑)
   การได้มาซึ่งบ่อน้ำ
การคัดเลือกเกษตรกร
        ๒.๑ คัดเลือกเกษตรกร จากแผนความต้องการสระน้ำที่เกษตรกรได้มายื่นความจำนงไว้แล้ว โดย นำความต้องการของเกษตรกรที่มาแจ้งความจำนงในการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นา พิจารณาความ สำคัญจากจังหวัดที่มีความต้องการมากมาพิจารณา กำหนดเป้าหมาย และให้ความสำคัญเป็นลำดับ ต้นๆ
        ๒.๒ สถานีพัฒนาที่ดินและหมอดินอาสาประจำ ตำบล/หมู่บ้าน สำรวจ ศักยภาพ ของ พื้นที่ และ ความพร้อมของเกษตรกรที่แจ้งความต้องการขุดสระน้ำไว้แล้ว
       ๒.๒.๑ เกษตรกรมีความตั้งใจประกอบอาชีพทางการเกษตรมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ และ สามารถมีส่วนร่วมในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขุดสระน้ำบ่อละ ๒,๕๐๐ บาท
       ๒.๒.๒ เกษตรกรเป็นเจ้าของพื้นที่ก่อสร้างที่ใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร มีเอกสารสิทธิ์ และ มี หนังสือ
ยินยอมให้เข้าดำเนินการก่อสร้าง

ขนาดของสระ
       พื้นที่ดำเนินการควรจะมีขนาดไม่น้อยกว่า ๓๐ x ๔๐ ตารางเมตร โดยจะใช้ก่อสร้างสระอย่างน้อย
๒๐ x ๓๐ x ๒.๑ เมตร เพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำงาน ได้โดยสะดวก และสามารถทำการเกลี่ยดิน ตกแต่งคันบ่อได้อย่างเรียบร้อย


ได้แล้วบำรุงรักษาอย่างไร
      การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินบริเวณขอบบ่อ เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมขุด บ่อน้ำในไร่นาจากกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ทางการเกษตรจำเป็นต้องมีการป้องกัน การพังทลายของดินบริเวณขอบบ่อ เนื่องจากบริเวณด้านข้างของแหล่งน้ำในไร่นาที่เกิดจากการขุดดิน ออกเพื่อให้เป็นบ่อ จะมีความลาดชัน และผิวดินเปิดโล่งไม่มีสิ่งปกคลุมทำให้น้ำกัดเซาะดินลงไปในก้น บ่อเกิดการตื้นเขิน จึงควรนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อช่วยกรองเศษตะกอนดิน หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆไม่ให้ไหล ลงบ่อ และยึดดินขอบบ่อ โดยกรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหญ้าแฝกบริเวณขอบ




















วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหวังและความรู้สึกเสมือนชาวนาทั่วไป

  ข้าวเป็นพืชล้มลุกที่มีมรดกสืบต่อแห่งเผ่าพันธ์คือ เมล็ดข้าว


ข้าวเปลือกแต่เมล็ดมีสารอาหารที่เหมาะแก่เลี้ยงต้นอ่อนของข้าว

ข้าวส่วนเกินก็มีคุณค่าต่อวิถีชาวนาและผู้ที่เห็นค่าของข้าว

ผู้ที่เห็นข้าวเป็นเพียงสินค้า... ก็จะไม่รู้ว่าสำคัญ

ขาดทุนก็เริ่มใหม่ หาวิธีผลิต หรือจำหน่ายใหม่เพื่อการแข่งขัน

ถ้าชาวนาหวังการผลิตเพื่อการค้า... ชาวนาก็จะทุกข์

เพราะความเป็นผู้ผลิต จึงเกิดความเป็นผู้ให้ ยินดีให้

ราคาเท่าไร ก็ยอมรับ

ส่งเสียงเพื่อร้องขอไป ก็ไม่ต่างจากเสียงกบ เสียงกา

ขอข้าวพันธุ์ดี ราคาต่ำแต่ผลผลิตต่อไร่สูง

ให้ชาวนาพึ่งผสมพันธุ์ข้าวเอง... เพื่อแก้วิกฤต ผลผลิตตกต่ำ

สถาบันวิจัยข้าวก็คงไร้ค่า... ขนาดมีหน่วยงานนักวิชาการสูง ยังทำไม่ได้

แล้วไฉนชาวนาความรู้ระดับยอดหญ้าจะพาข้าวได้ก้าวไกล

ของแพงผลิตยากคงจะหมดยุกต์แล้ว

ข้าวหอมมะลิชั้นดีจากดินแดนที่ราบสูงก็คงไร้ค่า

ปรับมาปลูกข้าวชาวต่างนา... นั้นคงเป้นไปได้

ความเป็นเอกลักษณ์ข้าวไทยนั้นคงสูญสิ้น

ขอคนที่มีความรู้ความรักวิถีชาวนา

มาช่วยปรับฟื้นฟูข้าวไทย

อย่าปล่อยให้คนที่อ้างว่ารู้มาแก้ปัญหา

ทำนาเละก็อ้างภัยพิบัติ

ทำนาพังก็อ้างดินไม่ดี

ทำนาแล้งแห้งตายก็โทษฟ้าฝน

พื้นแผ่นดินไทย... เสมือนแผ่นดินทอง

ชาติอื่นต่างหมายปอง... ครองที่นา

ต่างจากพื้นดินถิ่นไกลโพ้น

ล่มทั้งโคลน เละทั้งพื้น ยืนไม่นิ่ง

เขายังทำสิ่งที่เรียกว่าข้าว มาเป็นข้าวแข่งไทยเรา...

เพราะความตั้งใจจริง... เพื่อสิ่งที่ยั่งยืน

หากแม้นภัยพื้นพิบัติบังเกิดพบ

ซึ่งตอนจบยังมีข้าวเจ้าได้กิน

ทำให้อิ่มคุณบุญของข้าวเท่านั้นเอง

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วมที่เลียนแบบกันไม่ได้











































บ้านขี้เหล็ก หมู่ 6 ตำบลแก โดนพายุ นาแก และถูกปลายพายุ ไห่ถาง จนเกิดภาพที่ยากแก่การบรรยาย ท่วมท่งนา ข้าวกำลังตั้งท้อง น่าสงสารต้นข้าวเป็นอย่างมาก รอบ ๆ หมู่บ้านยังเป็นที่สูง แต่ข้าง ๆ นั้นจมน้ำกลายเป็นทะเลสาบย่อม ๆ

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลการเลือกตั้ง ส.ส. ของหมู่บ้านขี้เหล็ก

หมู่บ้านเล็ก ๆ ประชากรผู้มีสิทธ์ในการเลือกตั้ง 147 คน ไปใช้สิทธิ์ 81 คน ใช้สิทธิ์ล่วงหน้า 4 คน ชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านไปใช้สิทธิ์ ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 60 ขึ้นไป ส่วนอีกประมาณ 70 คนไปทำงานต่างแดน สิทธิ์ที่เคยเลือกตามจุดที่แจ้ง ไม่ตรงกับบัตรที่ถืออยู่ ทำให้ไปยังจุดเลือกตั้งไม่ตรงกับสิทธิ์
แต่เป็นที่น่ายินดี ที่คะแนนที่ได้ ของส.ส.แบบแบ่งเขต สุรินทร์ เขต 4 มีคะแนนที่ไล่เลียงกัน ถึงสามคน คะแนนที่ได้อย่างบริสุทธิ์ เป็นปรากฎการณ์ที่ คนอีสาน ลบคำสบประมาท ว่า เลือกเพราะเงิน แต่ ครั้งนี้ เขาเลือกด้วยใจ ที่หวัง ...
หวังว่าความเป็นรากหญ้า รากข้าว จะได้มีโอกาสทางสังคมการเมือง คำร้องขอของเขาไม่ได้มุ่งหวังเพียงนโยบายที่ตอบสนอง เขามองถึงอนาคตที่ยั่งยืน ชาวบ้านมีความอดทนสูง การรอคอยในระยะยาวก็สูงเช่นกัน เพียงนโยบายที่ล่อในระยะสั้น ๆ ของใครบางคนไม่อาจจะดึงใจที่แน่วแน่ของชาวบ้านได้
นโยบายเกี่ยวกับข้าวนาปี นาปรังต่างกัน

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ออกไปใช้สิทธิ์

วันนี้ 3 กรกฎาคม 2554 เป็นวันสำคัญ ขอเชิญชวนทุกคนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัญหาวัชพืช
ปัญหาวัชพืชที่ท้องนากลายเป็นการเพิ่มต้นทุนทั้งสารเคมีและค่าแรงงานที่มากกว่า 450 บาทต่อไร่ ตั้นทุนต่อไร่ที่สูงขึ้นส่งผลต่อราคาข้าวที่จำหน่าย สาเหตุที่วัชพืชเริ่มกลับมาอีกครั้ง อาจเกิดจากการนิยมทำนานหว่านและขาดแคลนน้ำในการควบคุมวัชพืช ตลอดจนการที่ชาวนาไม่ได้พักดินทำให้เมล็ดวัชพืชที่อยู่ในดินแฝงอยู่เกิดการเจริญมาพร้อม ๆ กับข้าว
วัชพืชที่พบได้ในนาของนายยินดี บ้านขี้เหล็กหมู่ 6 ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่
กกนาก มีประมาณ ร้อยละ 25 ของจำนวนวัชพืชทั้งหมด

กกขนาก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cyperus difformis L.
ชื่ออื่น
small flower umbrella plant หญ้าดอกต่อ, ผือน้อย
ประเภท/ชีพจักร
กก/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ลำต้นสามเหลี่ยมเว้าลึก ดอกเป็นแฉกทรงกลมสีเขียว
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินชื้นแฉะ
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านน้ำตม นาดำและนาหว่านข้าวแห้ง
ที่มา http://www.brrd.in.th/rkb/data_006/rice_xx2-06_NEWweedrice_08.html

รองลงมาที่พบ ร้อยละ 20
กกทราย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cyperus iria L.
ชื่ออื่น
umbrella sedge, rice flatsedge, กกแดง, หญ้ารังกา
ประเภท/ชีพจักร
กก/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ต้นอ่อนคล้ายหอกปลายแหลม ดอกเล็กเป็นช่อเรียงกัน 2 แถว สีเหลือง-น้ำตาล
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินเหนียวปนทรายและชื้น
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านน้ำตม นาหว่านข้าวแห้งและนาดำ

รองลงมาร้อยละ 21 คือ
เทียนนา ชาวบ้านขี้เหล็กเรียกว่า "ต้นไส้เอียน"
ชื่อวิทยาศาสตร์
Jussiaea linifolia Vahl
ชื่ออื่น
water primrose
ประเภท/ชีพจักร
ใบกว้าง/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสูง 25-70 ซ.ม. ขึ้นในที่ชื้น
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
เจริญเติบโตได้ในที่ชื้นหรือมีน้ำขัง
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาน้ำฝน

รองลงมา ร้อยละ 14 คือ ซ้ง
เซ่งใบมน ชาวบ้านขีเหล็กเรยกว่า "ต้นแมงขี้อ้น"
ชื่อวิทยาศาสตร์
Melochia corchorifolia L.
ชื่ออื่น
wire bush
ประเภท/ชีพจักร
ใบกว้าง/อายุปีเดียวและข้ามปี
ลักษณะเด่น
เติบโตในสภาพไร่ได้ หลังงอกหากมีน้ำขังก็ยังเจริญเติบโตได้
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ลุ่มและค่อนข้างดอน
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาน้ำฝน

รองลงมา ร้อยละ 8 คือ ผักบุ้ง
ผักบุ้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ipomoea aquatica Forsk.
ชื่ออื่น
swamp morning glory
ประเภท/ชีพจักร
ใบกว้าง/อายุข้ามปี
ลักษณะเด่น
มีลักษณะลำต้นกลวงลอยน้ำได้ อยู่ได้ในสภาพระดับน้ำลึก
ส่วนขยายพันธุ์
ลำต้น/ เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
นาน้ำลึกที่มีทั้งสภาพดินแห้ง, ชื้น และน้ำขังลึก
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาน้ำลึก นาหว่านข้าวแห้ง นาดำ

รองลงมาร้อยละ 7 คือ โสน
โสนหางไก่ ช้าวบ้านขี้เหล็กเรียกว่า "ต้นกะถินขี้นก"
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aeschynomene aspera L.
ชื่ออื่น
jointvetch
ประเภท/ชีพจักร
ใบกว้าง/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ต้นสูง ทนน้ำท่วม
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินชื้นแฉะหรือน้ำขัง
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านข้าวแห้ง

รองลงมาร้อยละ 5 คือ หนวดปลาดุก
หนวดปลาดุก ชาวบ้านมักเรียกว่า "หญ้าส้ม"
ชื่อวิทยาศาสตร์
Fimbristylis miliacea (L.) Vahl.
ชื่ออื่น
grass-like fimbristylis หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด
ประเภท/ชีพจักร
กก/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ต้นอ่อนแตกกอแนวเส้นตรงคล้ายพัด ดอกเป็นตุ่มสีน้ำตาล
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินชื้นไม่มีน้ำขัง
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านน้ำตม นาหว่านข้าวแห้งและนาดำ

รองลงมาร้อยละ 5 คือ หญ้าแดง
หญ้าแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ischaemum rugosum Salisb.
ชื่ออื่น
wrinkle duck-beak ,หญ้ากระดูกไก่, หญ้าก้านธูป, หญ้าสล้าง
ประเภท/ชีพจักร
หญ้า/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ลำต้นแนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
งอกได้ดีในดินชื้น
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านข้าวแห้งและนาหว่านน้ำตม

และอื่น ๆ เช่น
หญ้าปากควาย

ชื่อวิทยาศาสตร์
Dactyloctenium aegyptium (L.)P.Beauv
ชื่ออื่น
crowfoot grass
ประเภท/ชีพจักร
หญ้า/อายุปีเดียว
ลักษณะเด่น
ดอกเป็นสี่แฉก
ส่วนขยายพันธุ์
เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ที่ดอน ดินร่วนค่อนข้างแห้ง
นิเวศนาข้าวที่ระบาด
นาหว่านข้าวแห้ง

ที่มา กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ที่มาของอำเภอรัตนบุรี

ประวัติความเป็นมาของอำเภอรัตนบุรี จากเอกสารฉลองครบรอบ 100 ปี อำเภอรัตนบุรี ทำให้ทราบว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2280 ตามที่ปรากฏในพงสาวดาร "หัวเมืองมณฑลอีสาน" ได้มีชนเผ่าที่เรียกตนเองว่า "ส่วย" หรือ "กูย" มีการพูดเป็นของตนเอง อพยพมาจากอัตปือแสนแปอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองจำปาศักดิ์ ฝั่งซ้ายน้ำโขงอาณาเขตสาธารณรัฐประชาชาชนลาวในปัจจุบัน เดินทางมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือประเทศไทยได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ มีหัวหน้าส่วยที่สำคัญ 6 คน ดังนี้
พวกที่ 1 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองที่ (บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์) หัวหน้าชื่"เชียงปุม"
พวกที่ 2 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดหมาย หรือเมืองเตา(อำเภอรัตนบุรี ปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสี" หรือ ตากะอาม"
พวกที่ 3 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสง"
พวกที่ 4 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกลำดวน(เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) หัวหน้าชื่อ "ตากะจะ" และ "เชียงขัน"
พวกที่ 5 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านอัจจะปะนึง หรือโคกอัจจะ(เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) หัวหน้าชื่อ "เชียงฆะ"
พวกที่ 6 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัด อำเภอศีขรภูมิปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงไชย" อำเภอรัตนบุรีในสมัยนั้น กลุ่มที่มาตั้งรกราก คือกลุ่มของ เชียงสี และพรรคพวกอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ฝั่งไทยเพื่อแสวงหาถิ่นอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร และปลูกบ้านเรือน และได้พบกับถิ่นอุดมสมบูรณ์ มีห้วยหนอง คลองบึง ป่าไม้ สัตว์ป่าจำพวกเต่าเป็นจำนวนมากจึงถิ่นฐานที่บ้านกุดหวาย หรือรัตนบุรีในปัจจุบัน เชียงสี เป็นคนมีวิชาอาคมมากซึ่งเป็นหัวหน้าทีม พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ และพระอนุชาได้ขอให้เชียงสีช่วยติดตามช้างให้ เชียงสีจึงรวมพรรคพวก ทั้ง 5 คน คือ เชียงปุม เชียงฆะ เชียงชัย เชียงขัน และเชียงสง ช่วยออกติดตามช้างจนถึงเขตแดนเขมรจึงจับช้างทรงได้คืน พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ได้ขอผูกเสี่ยว กับกลุ่มทั้ง 6 คน แล้วเสด็จกลับกรุงศรี และภายหลังเสี่ยวทั้ง 6 ได้รับพระราชทานยศฐาบรรดาศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง ยกฐานะหมู่บ้านเป็นเมืองขึ้นตรงต่อพิมาย ซึ่งเชียงสีได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขั้นหลวงมีชื่อใหม่ว่า "หลวงศรีนครเตา" ปกครองเมืองกุดหวาย หรือเมืองรัตนบุรี ด้วยความสงบสุขเรื่อยมา เชียงสีได้ส่งส่วยตามประเพณีเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีจนได้รับบรรดาศักดิ์สูงจาก "หลวง" เป็น "พระ" ปกครองเมืองเดิม และได้เพิ่มชื่อต่อท้ายว่า "ท้าวเธอ" เป็น พระศรีนครเตาท้าวเธอ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนบุรี" ตามชื่อของห้วยแก้วที่ขึ้นอยู่ 2 ฝั่งห้วยอย่างหนาแน่น ต่อมาพ.ศ. 2439 เมืองรัตนบุรี ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงกับจังหวัดบุรีรัมย์ และ ในปี พ.ศ. 2459 ได้โอนมาอยู่ในความปกครองของจังหวัดสุรินทร์ตราบปัจจุบันนี้ โดยมีนายอำเภอคนแรก คือ หลวงสรรพกิจ โกศล
ที่มา เอกสารนำเสนองานเลิมฉลองการก่อตั้งเมืองรัตนบุรี ครบ ๑๐๐ ปี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์