วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การขาดสมดุลอุทกสถิต


ปัญหาขาดแคลนน้ำของเกษตรกรกำกลังเป็นปัญหาวิกิตของชาติที่ทุกฝ่ายควรมาร่วมมือแก้ปัญหา อย่างน้อย ๆ ก้บรรเทาได้บ้าง และร่วมกันวางแผนเผื่ออนาคต หรือที่เรียกว่า แผนแห่งการสร้างความยั่งยืน ผมได้ลงมือนำนาประมาณ 10 ปี ถือว่าประสบการณ์นาลุมน้ำมูล ได้พบปัญหาในแต่ละปีแตกต่างกันในรายละเอียดโยสิ้นเชิง แต่ปัญหารวม ๆ จะอยู่ที่การบริหารจัดการน้ำ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผม(นายยินดี) ได้ปรับพื้นที่นาแต่ละแปลงมีบ่อน้ำเล็ก ๆ ขนาดกินพื้นที่ ประมาณ ๕ - ๑๐ % เพื่อเก็บกักน้ำ ตลอดจนเป็นบ่อปลาที่ได้ประโยชน์หลังฤดูการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๓ จนถึง ๒๕๕๓ ได้ใช้ประโยชน์ตรงในการสูบน้ำเพื่อเลียงต้นข้าว ๔ ครั้ง ปีที่ได้ใช้งานจริง ๒๕๔๓ สภาพบ่อใหม่และพร้อมใช้ ๒๕๔๕ น้ำท่วม ๒๕๔๖-๒๕๔๗ ได้ใช้แต่ไม่เพียงพอ ๒๕๔๘-๒๕๕๐ น้ำท่วม ๒๕๕๑-๒๕๕๒ ได้ใช้งานเต็มที่ โดยใช้งบประมาณในการขุดบ่อ รวม ๒๔๖,๐๐๐ บาท(งบประมาณจากรัฐสนับสนุน ๑๕๐,๐๐๐ บาท และงบส่วนตัว) รวม ๕ บ่อ และมีแผนขุดลอกเพิ่มอีก ๓ บ่อ นอกจากนี้แล้วยังได้งบประมาณเป็นค่าชดเชยอุทกภัยในแต่ละปีสำหรับบ่อเลี้ยงปลาของรัฐแตกต่างกันในแต่ละปี

การได้รับเงินชดเชยดังกล่าวจากรัฐหลาย ๆ อย่างรวมกันแก่เกษตรกร มากพอสมควร ผมสวมบททั้งข้าราชการครูและชาวนายังรับรู้ว่าชาวนานั้นได้รับการช่วยเหลือเงินมาโดยตลอด เหตุผลที่ชาวนาจนผมทราบดี ถ้าชาวนาที่แท้จริงมักจะร่ำรวยเสมอ

การจัดการน้ำที่ได้พึ่งตนเองด้วยบ่อก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาน้ำในระยะยาวได้เนื่องจาก ปริมาณน้ำที่มากในแต่ละปี และที่น้อยจนขาดแคลนบางปี จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการเก็บกักน้ำมากเช่นเดียวกัน ถ้าหากรัฐบาลหันความสมใจและตระหนักความสำคัญของสมดุลน้ำใต้ดิน การรักษาความชุ่มชื้นของดิน มีค่ามากกว่าแอ่งน้ำบนผิวดิน เนื่องจากปัจจัยเสียงของน้ำท่วมเกือบจะไม่มี การเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เมื่อนำน้ำใต้ดินไปใช้มาก ๆ ปัญหาน้ำใต้ดินขาดแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาแอ่งน้ำใต้ดินมีขนาดลดลง เพราะดินทรุดลง อย่าง ช้า ๆ หรือไม่ก็เกิดแอ่ง หลุ่ม ลึก โดยไม่ทราบสาเหตุ

ผู้ที่มีความรู้และสนใจเขื่อใต้ดินเรายังล้าหลัง แม้กระทั่งประเทศเล็ก อย่างสิงคโปร์ ยังมีเขื่อน้ำจืดใต้ทะเลที่มีปริมาณเลี้ยงดูประชากรเขาได้เกือบสิบปี คงไม่ยากน่ะที่นักการเมืองจะเปิดใจ อย่าคิดแต่ว่าทำสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา ก็มักจะคอรัปชั้นกัน อย่างเช่นกรรณีขุดเจาะบ่อบาดาลที่ใช้การไม่ได้มากกว่าร้อยละ ๖๐ เนื่องจากเราขาดข้อมูลที่แท้จริงทางธรณีวิทยานั่นเอง

ปัญหาการขาดแคลนของแหล่งน้ำใต้ดิน เนื่องจากการใช้ในปริมาณที่มาก เกินไป การเติมน้ำเข้าไปรัฐกับให้ใช้ระบบธรรมชาติ มนุษย์ดึงน้ำออกไปใช้ แต่ปล่อยให้ธรรมเป็นผู้เติมน้ำสู่แงใต้ดิน หรือน้ำใต้ดิน การขาดดุลที่ไม่เป็นธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น