วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวทางแก้ปัญหาภัยแล้งตามแบบนายยินดี

ปัญหาแล้งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคเกษตร อุตสากรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรจะโยงใยกันจนแยกไม่ออก ขาดน้ำเป็นต้นเหตุของปัญหา สิ่งที่เป็นปัญหาคือ พืชเพาะปลูกตาย สัตว์เลี้ยงตาย ผลผลิตตกต่ำ สินค้าราคาแพง กลายเป็นอุปสรรค ฉะนั้นคำว่าอุปสรรค หรือสิ่งที่ขวางกั้น ปิดกั้น ทางไปสู่เป้าหมายนั้นหมายถึงปัญหา เกษตรกรกำหนดปัญหาอย่างไร แนวทางที่จะใช้ได้ทันด่วนทำอย่างไร งบประมาณมากน้อยอย่างไร บริเวณใดที่รับผลตรงและบริเวณใดรับผลโดยอ้อม
การวางแผนเพื่อแก้ปัญหาต้องเริ่ม ทั้งจุดเล็ก ๆ จุดกลาง และจุดใหญ่ และสำคัญที่สุด คืดจุดแห่งความยั่งยืน ถามว่าเริ่มจุดใดก่อน ตอบยาก
ให้เริ่มพร้อมกัน
จุดเล็ก ได้แก่แหล่งบนดินและน้ำใต้ดินที่พอมีบรรเทา จัดสรรให้ ขุดบ่อน้ำทำแก้มเก็บ วิจัยศึกษาปัญหาเป็นกรณี
จุดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย การผันน้ำจากแหล่งที่มีพอเพียงที่อยู่ในระยะพิสัยพึงกระทำส่งผลน้อยกับสิ่งแวดล้อมระยะยาว ศึกษาวิจัยน้ำอย่างจริงจัง
จุดกลางการ สร้างแหล่งน้ำผิวดิน ใต้ดินที่มีระบบการจ่ายที่ควบคุมได้ ตั้งศูนย์อุตุนิยมวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมบริเวณตามประสิทธิภาพของเครื่องมือ รายงานผลข้อมูลความชื้นที่เป็นจริงปราศจากความเท็จเพื่อจุดประสงค์ประโยชน์ส่วนตน หรือศูนย์รวมวิจัย ที่สอดคล้องกับหน่วยงานธรณีวิทยา
จุดใหญ่เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของเขื่อน ตลอดจนการลดการผลิตกระแสไฟฟ้าลง แต่เพิ่มการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบวนกลับ(ย้อนกลับ แม้นจะลงทุนสูงแต่การหมุนเวียนน้ำจะมีค่า) สร้างการผันเก็บน้ำในรูปแบต่าง ๆ สร้างผืนป่าที่กำหนดทิศทางความชื้นของบริเวรณที่ควบคุมได้
จุดที่ยั่งยืนสร้างค่านิยมแห่งการอนุรักษ์ หรือวัฒนธรรมแห่งสายน้ำที่มีคุณค่าแก่การสืบทอดที่มั่นคงถาวร
ข้อเสนอดังกล่าวอาจใช้ไม่ได้ทั้งหมดแต่สิ่งที่เป็นค่านิยม หรือคุณค่าแห่งจิตใจ ทั้งชาติน่าจะสร้างได้ ไม่ว่าชาติใดก็สร้างได้เช่นกัน จุดนี้ก็เกิดจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลักปรัชญาดังกล่าวใช้ได้เมื่องบประมาณที่เกี่ยวข้องมีจำนวนจำกัดขอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเริ่มลงมือทำ เมื่อ "ทำได้ ถึงได้ช้า ดีกว่าทำไม่ได้ และไม่ได้ทำ"
ขอทรงพระเจริญ ด้วยกล้าวด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ นามปากกา นายยินดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น