วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ที่มาของอำเภอรัตนบุรี

ประวัติความเป็นมาของอำเภอรัตนบุรี จากเอกสารฉลองครบรอบ 100 ปี อำเภอรัตนบุรี ทำให้ทราบว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2280 ตามที่ปรากฏในพงสาวดาร "หัวเมืองมณฑลอีสาน" ได้มีชนเผ่าที่เรียกตนเองว่า "ส่วย" หรือ "กูย" มีการพูดเป็นของตนเอง อพยพมาจากอัตปือแสนแปอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองจำปาศักดิ์ ฝั่งซ้ายน้ำโขงอาณาเขตสาธารณรัฐประชาชาชนลาวในปัจจุบัน เดินทางมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือประเทศไทยได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ มีหัวหน้าส่วยที่สำคัญ 6 คน ดังนี้
พวกที่ 1 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองที่ (บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์) หัวหน้าชื่"เชียงปุม"
พวกที่ 2 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดหมาย หรือเมืองเตา(อำเภอรัตนบุรี ปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสี" หรือ ตากะอาม"
พวกที่ 3 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสง"
พวกที่ 4 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกลำดวน(เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) หัวหน้าชื่อ "ตากะจะ" และ "เชียงขัน"
พวกที่ 5 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านอัจจะปะนึง หรือโคกอัจจะ(เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) หัวหน้าชื่อ "เชียงฆะ"
พวกที่ 6 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัด อำเภอศีขรภูมิปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงไชย" อำเภอรัตนบุรีในสมัยนั้น กลุ่มที่มาตั้งรกราก คือกลุ่มของ เชียงสี และพรรคพวกอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ฝั่งไทยเพื่อแสวงหาถิ่นอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร และปลูกบ้านเรือน และได้พบกับถิ่นอุดมสมบูรณ์ มีห้วยหนอง คลองบึง ป่าไม้ สัตว์ป่าจำพวกเต่าเป็นจำนวนมากจึงถิ่นฐานที่บ้านกุดหวาย หรือรัตนบุรีในปัจจุบัน เชียงสี เป็นคนมีวิชาอาคมมากซึ่งเป็นหัวหน้าทีม พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ และพระอนุชาได้ขอให้เชียงสีช่วยติดตามช้างให้ เชียงสีจึงรวมพรรคพวก ทั้ง 5 คน คือ เชียงปุม เชียงฆะ เชียงชัย เชียงขัน และเชียงสง ช่วยออกติดตามช้างจนถึงเขตแดนเขมรจึงจับช้างทรงได้คืน พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ได้ขอผูกเสี่ยว กับกลุ่มทั้ง 6 คน แล้วเสด็จกลับกรุงศรี และภายหลังเสี่ยวทั้ง 6 ได้รับพระราชทานยศฐาบรรดาศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง ยกฐานะหมู่บ้านเป็นเมืองขึ้นตรงต่อพิมาย ซึ่งเชียงสีได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขั้นหลวงมีชื่อใหม่ว่า "หลวงศรีนครเตา" ปกครองเมืองกุดหวาย หรือเมืองรัตนบุรี ด้วยความสงบสุขเรื่อยมา เชียงสีได้ส่งส่วยตามประเพณีเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีจนได้รับบรรดาศักดิ์สูงจาก "หลวง" เป็น "พระ" ปกครองเมืองเดิม และได้เพิ่มชื่อต่อท้ายว่า "ท้าวเธอ" เป็น พระศรีนครเตาท้าวเธอ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนบุรี" ตามชื่อของห้วยแก้วที่ขึ้นอยู่ 2 ฝั่งห้วยอย่างหนาแน่น ต่อมาพ.ศ. 2439 เมืองรัตนบุรี ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงกับจังหวัดบุรีรัมย์ และ ในปี พ.ศ. 2459 ได้โอนมาอยู่ในความปกครองของจังหวัดสุรินทร์ตราบปัจจุบันนี้ โดยมีนายอำเภอคนแรก คือ หลวงสรรพกิจ โกศล
ที่มา เอกสารนำเสนองานเลิมฉลองการก่อตั้งเมืองรัตนบุรี ครบ ๑๐๐ ปี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น