วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขุดบ่อน้ำตามโครงการแหล่งน้ำในไร่นาขอกเขตชลประทาน


        ประเทศไทย มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ ๑๕๑.๙๒ ล้านไร่ ซึ่งภายใต้พื้นที่การเกษตรดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่มีระบบชลประทานประมาณ ๒๙.๓๔ ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๓๑ ของพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนพื้นที่ที่เหลือ ๑๒๒.๕๘ ล้านไร่หรือร้อยละ ๘๐.๖๙ เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน นอกจากนี้ภายใต้ พื้นที่ เกษตรกรรม ที่ มี การ พัฒนา ระบบ ชลประทาน แล้วยังมีพื้นที่ชลประทานบางส่วนที่มีปัญหาการ ขาดแคลนน้ำ มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรไม่เพียงพอตลอดทั้งปีขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง น้ำจัดเป็นปัจจัย สำคัญในระบบการผลิตทางการเกษตรและเป็นสิ่งจำเป็นในการอุปโภค และบริโภคส่งผลต่อความ เจริญทางเ ศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบหมายกรมพัฒนาที่ดินจัดทำ
โครงการแหล่งน้ำในไร่นา นอกเขตชลประทาน โดยการขุดสระน้ำในไร่ นาขนาด ๑,๒๖๐ ลูกบาศก์เมตร และ ให้ เกษตรกร มี ส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่าย ๒,๕๐๐ บาท/บ่อ โดย มี วัตถุประสงค์ เพื่อ เป็นการ บรรเทา สภาพ ปัญหา ภัย แล้ง การ ขาดแคลน น้ำ และ เพิ่ม ประสิทธิภาพการ เก็บ กัก น้ำ ใน พื้นที่ ทำการ เกษตร ของ เกษตรกร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ และกรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการ ก่อสร้าง
แหล่งน้ำในไร่นาไปแล้วบางส่วนแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ กรม พัฒนาที่ดิน ได้รับ เป้าหมายดำเนินการจำนวน ๘๐,๐๐๐ บ่อ
ที่มา กรมพัฒนาที่ดิน กรทรวงเกษตรและสหกรณ์(๒๕๕๖ : ๑)
   การได้มาซึ่งบ่อน้ำ
การคัดเลือกเกษตรกร
        ๒.๑ คัดเลือกเกษตรกร จากแผนความต้องการสระน้ำที่เกษตรกรได้มายื่นความจำนงไว้แล้ว โดย นำความต้องการของเกษตรกรที่มาแจ้งความจำนงในการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นา พิจารณาความ สำคัญจากจังหวัดที่มีความต้องการมากมาพิจารณา กำหนดเป้าหมาย และให้ความสำคัญเป็นลำดับ ต้นๆ
        ๒.๒ สถานีพัฒนาที่ดินและหมอดินอาสาประจำ ตำบล/หมู่บ้าน สำรวจ ศักยภาพ ของ พื้นที่ และ ความพร้อมของเกษตรกรที่แจ้งความต้องการขุดสระน้ำไว้แล้ว
       ๒.๒.๑ เกษตรกรมีความตั้งใจประกอบอาชีพทางการเกษตรมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ และ สามารถมีส่วนร่วมในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขุดสระน้ำบ่อละ ๒,๕๐๐ บาท
       ๒.๒.๒ เกษตรกรเป็นเจ้าของพื้นที่ก่อสร้างที่ใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร มีเอกสารสิทธิ์ และ มี หนังสือ
ยินยอมให้เข้าดำเนินการก่อสร้าง

ขนาดของสระ
       พื้นที่ดำเนินการควรจะมีขนาดไม่น้อยกว่า ๓๐ x ๔๐ ตารางเมตร โดยจะใช้ก่อสร้างสระอย่างน้อย
๒๐ x ๓๐ x ๒.๑ เมตร เพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำงาน ได้โดยสะดวก และสามารถทำการเกลี่ยดิน ตกแต่งคันบ่อได้อย่างเรียบร้อย


ได้แล้วบำรุงรักษาอย่างไร
      การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินบริเวณขอบบ่อ เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมขุด บ่อน้ำในไร่นาจากกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ทางการเกษตรจำเป็นต้องมีการป้องกัน การพังทลายของดินบริเวณขอบบ่อ เนื่องจากบริเวณด้านข้างของแหล่งน้ำในไร่นาที่เกิดจากการขุดดิน ออกเพื่อให้เป็นบ่อ จะมีความลาดชัน และผิวดินเปิดโล่งไม่มีสิ่งปกคลุมทำให้น้ำกัดเซาะดินลงไปในก้น บ่อเกิดการตื้นเขิน จึงควรนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อช่วยกรองเศษตะกอนดิน หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆไม่ให้ไหล ลงบ่อ และยึดดินขอบบ่อ โดยกรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหญ้าแฝกบริเวณขอบ




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น