วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การขาดสมดุลอุทกสถิต


ปัญหาขาดแคลนน้ำของเกษตรกรกำกลังเป็นปัญหาวิกิตของชาติที่ทุกฝ่ายควรมาร่วมมือแก้ปัญหา อย่างน้อย ๆ ก้บรรเทาได้บ้าง และร่วมกันวางแผนเผื่ออนาคต หรือที่เรียกว่า แผนแห่งการสร้างความยั่งยืน ผมได้ลงมือนำนาประมาณ 10 ปี ถือว่าประสบการณ์นาลุมน้ำมูล ได้พบปัญหาในแต่ละปีแตกต่างกันในรายละเอียดโยสิ้นเชิง แต่ปัญหารวม ๆ จะอยู่ที่การบริหารจัดการน้ำ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผม(นายยินดี) ได้ปรับพื้นที่นาแต่ละแปลงมีบ่อน้ำเล็ก ๆ ขนาดกินพื้นที่ ประมาณ ๕ - ๑๐ % เพื่อเก็บกักน้ำ ตลอดจนเป็นบ่อปลาที่ได้ประโยชน์หลังฤดูการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๓ จนถึง ๒๕๕๓ ได้ใช้ประโยชน์ตรงในการสูบน้ำเพื่อเลียงต้นข้าว ๔ ครั้ง ปีที่ได้ใช้งานจริง ๒๕๔๓ สภาพบ่อใหม่และพร้อมใช้ ๒๕๔๕ น้ำท่วม ๒๕๔๖-๒๕๔๗ ได้ใช้แต่ไม่เพียงพอ ๒๕๔๘-๒๕๕๐ น้ำท่วม ๒๕๕๑-๒๕๕๒ ได้ใช้งานเต็มที่ โดยใช้งบประมาณในการขุดบ่อ รวม ๒๔๖,๐๐๐ บาท(งบประมาณจากรัฐสนับสนุน ๑๕๐,๐๐๐ บาท และงบส่วนตัว) รวม ๕ บ่อ และมีแผนขุดลอกเพิ่มอีก ๓ บ่อ นอกจากนี้แล้วยังได้งบประมาณเป็นค่าชดเชยอุทกภัยในแต่ละปีสำหรับบ่อเลี้ยงปลาของรัฐแตกต่างกันในแต่ละปี

การได้รับเงินชดเชยดังกล่าวจากรัฐหลาย ๆ อย่างรวมกันแก่เกษตรกร มากพอสมควร ผมสวมบททั้งข้าราชการครูและชาวนายังรับรู้ว่าชาวนานั้นได้รับการช่วยเหลือเงินมาโดยตลอด เหตุผลที่ชาวนาจนผมทราบดี ถ้าชาวนาที่แท้จริงมักจะร่ำรวยเสมอ

การจัดการน้ำที่ได้พึ่งตนเองด้วยบ่อก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาน้ำในระยะยาวได้เนื่องจาก ปริมาณน้ำที่มากในแต่ละปี และที่น้อยจนขาดแคลนบางปี จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการเก็บกักน้ำมากเช่นเดียวกัน ถ้าหากรัฐบาลหันความสมใจและตระหนักความสำคัญของสมดุลน้ำใต้ดิน การรักษาความชุ่มชื้นของดิน มีค่ามากกว่าแอ่งน้ำบนผิวดิน เนื่องจากปัจจัยเสียงของน้ำท่วมเกือบจะไม่มี การเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เมื่อนำน้ำใต้ดินไปใช้มาก ๆ ปัญหาน้ำใต้ดินขาดแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาแอ่งน้ำใต้ดินมีขนาดลดลง เพราะดินทรุดลง อย่าง ช้า ๆ หรือไม่ก็เกิดแอ่ง หลุ่ม ลึก โดยไม่ทราบสาเหตุ

ผู้ที่มีความรู้และสนใจเขื่อใต้ดินเรายังล้าหลัง แม้กระทั่งประเทศเล็ก อย่างสิงคโปร์ ยังมีเขื่อน้ำจืดใต้ทะเลที่มีปริมาณเลี้ยงดูประชากรเขาได้เกือบสิบปี คงไม่ยากน่ะที่นักการเมืองจะเปิดใจ อย่าคิดแต่ว่าทำสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา ก็มักจะคอรัปชั้นกัน อย่างเช่นกรรณีขุดเจาะบ่อบาดาลที่ใช้การไม่ได้มากกว่าร้อยละ ๖๐ เนื่องจากเราขาดข้อมูลที่แท้จริงทางธรณีวิทยานั่นเอง

ปัญหาการขาดแคลนของแหล่งน้ำใต้ดิน เนื่องจากการใช้ในปริมาณที่มาก เกินไป การเติมน้ำเข้าไปรัฐกับให้ใช้ระบบธรรมชาติ มนุษย์ดึงน้ำออกไปใช้ แต่ปล่อยให้ธรรมเป็นผู้เติมน้ำสู่แงใต้ดิน หรือน้ำใต้ดิน การขาดดุลที่ไม่เป็นธรรม

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เลือนทำนาปี เลื่อนการเกี่ยวข้าวนาปี ชาวนาทำใจได้จริง?

ภาวะการขาดแคลนน้ำเนื่องจากฝนทิ้งช่วงมานานกว่า 60 วัน ทำให้ข้าวหอมมะลิของชานาบ้านขี้เหล็ก หมู่ 6 ตำบลแก อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ เริ่มที่จะแห้ง เหี่ยวฉาตาย แตกต่างกันตามลักษณะภูมิศาสตร์ สูงต่ำ การซึมซับน้ำ หรือบริเวรณร่องน้ำใต้ดิน
คำว่าร่องน้ำใต้ดินถามชาวบ้าน ตอบได้เลยว่าไม่รู้จัก เขารู้จักเพียงแต่แหล่งน้ำบาดาล ชาวบ้านมักสังสัยว่า น้ำใต้ดินมันไหลเป็นด้วยหรือ ?
ความรู้วิทยาศาสตร์ของชาวบ้านยังไม่ถึง แต่สามารถทราบได้จากภูมิปัญญาเก่าแก่ถึงแหล่งน้ำซับ ซึ่งแหล่งน้ำซับดังกล่าวก้น่าจะไหลมาจากที่สูงแห่งใกแห่งหนึ่งนั่นเอง แหล่งน้ำที่เก็บในที่สูงมีอยู่ที่ใด...
ชาวบ้านบ้างก็ตอบ อยู่บนฟ้า บ้างก็ตอบอยู่บนภูเขา ความสามารถเท่ากับนักเรียนชั้น ป๔ ตอบ สบายมาก แต่ชาวบ้านที่มีมุมมองทางการเมืองตอบเสียงเดียวกันว่า น้ำอยู่บนรัฐบาล ผมงง...
เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ปัญหาภัยแล้งมาจากการจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล(ข้อสรุปที่ฟังและจับประเด็นได้) คำว่าไม่มีประสิทธิภาพ คือ รุกพื้นที่ป่า ออกกเอกสารสิทธิ์เร่งด่วนบางพื้นที่ ถมคูคลองเพื่อสร้างแหล่งโรงงาน สุรินทร์อินทรียอุตสาหกรรม เป็นคำที่เข้ากันได้ ในสุรินทร์ แหล่งน้ำไม่ได้เพิ่มจุดที่สำคัญ ไม่ศึกษาแหล่งน้ำดังเดิม ขุดลอกบริเวณที่คอรับชั่นได้ง่ายเท่านั้น... ซึ่งอื่น ๆ เขียนบรรยายได้ยาก เป็นภาษาพื้นบ้าน
การซ้ำเติมปัญหาด้วยการหันเห หรือลดละเลิกการทำนาระยะสั้น ด้วยการเลื่อนการทำนาปี เป็นสิ่งที่ยากกว่าการทำนาปรัง เพราะพันธุ์ข้าวที่เป็นพันธุ์ไวแสง จะสุกงอมตามวันเวลาที่เป็นฤดูกาลเท่านั้น จึงเรียกว่านาปี ปลูกข้าวมกราคม หรือเดือน สิงหาคม ข้าวก็ออกรวงสุกงอม เดือนพฤศจิกายนเท่ากัน ข้าวสาว ข้าวแก่ ข้าวเด็ก ออกรวงก็มีคุณภาพแตกต่างกัน
๑.การแก้ปัญการะยะสั้นเร่งด่วนที่สุดที่น่าจะทำได้จริงในเวลานี้ เริ่มสร้างแอ่งเก็บน้ำขนาดเล็ก ถึงกลาง เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่คาดว่าอาจจะมาในเวลาไม่ช้านี้
๒.ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำที่มีอยู่จำกับให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์พืช
๓.ส่งถ่ายแหล่งน้ำด้วยระบบชลประทานแบบเปิด และระบบปิด
๔.เสริมเทคโนโลยีการควบคุมน้ำ
๕.วิจัยแหล่งน้ำ ทั้งบนดิน ใต้ดิน และอากาศอย่างเป็นระบบ
ระยะยาว
๑.สร้างความรู้ที่ยังยืนในการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตั้งแต่ในระบบโรงเรียน ชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้าน
๒.วิจัยอย่างต่อเนื่อง
๓.กำหนดแผนการจัดการน้ำร่วมกันทุกฝ่ายชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้านชุมชน ตลอดจนชาติเพื่อบ้าน
๔.กำหนดหรือแผนการผลิตพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ยั่งยืน
เมื่อปัญหาเกิดแล้ว สิ่งที่คนไทยช่วยกันได้อย่างดีที่สุด คือ เต็มใจรับสภาพ และหันมาร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหา ถึงแม้การแก้ปัญหาเฉพาะนั้นจะเป็นได้น้อยหรือมากก็ตาม มิตรภาพดีต่อกัน คือน้ำที่ไม่เคยแล้งจากเมืองไทย

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ช่วงหว่านข้าว


บ้านขี้เหล็ก หมู่ 6 ตำบลแก เริ่มได้เวลาหว่านข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ข้าว กข 105 ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม 2553 - 7 มิถุนายน 2553 เกษตรกรบางคนก็ใช้การหว่านข้าวแห้ง นาที่ลุมก็หว่านแบบข้าวแช่ แตกต่างกันไม่มาก ชาวบ้านเนื้อที่ประมาณ 1560 ไร่ พร้อมพื้นที่ใกล้เคียง นิยมใช้วิธีหวานแล้วปั่นด้วยเครื่องจักจอบหมุนติดแทรกเตอร์ ข้าวงอกขึ้นสวยงามมาก ชาวนาอ่นใจ