วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ที่มาของอำเภอรัตนบุรี

ประวัติความเป็นมาของอำเภอรัตนบุรี จากเอกสารฉลองครบรอบ 100 ปี อำเภอรัตนบุรี ทำให้ทราบว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2280 ตามที่ปรากฏในพงสาวดาร "หัวเมืองมณฑลอีสาน" ได้มีชนเผ่าที่เรียกตนเองว่า "ส่วย" หรือ "กูย" มีการพูดเป็นของตนเอง อพยพมาจากอัตปือแสนแปอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองจำปาศักดิ์ ฝั่งซ้ายน้ำโขงอาณาเขตสาธารณรัฐประชาชาชนลาวในปัจจุบัน เดินทางมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือประเทศไทยได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ มีหัวหน้าส่วยที่สำคัญ 6 คน ดังนี้
พวกที่ 1 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองที่ (บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์) หัวหน้าชื่"เชียงปุม"
พวกที่ 2 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดหมาย หรือเมืองเตา(อำเภอรัตนบุรี ปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสี" หรือ ตากะอาม"
พวกที่ 3 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงสง"
พวกที่ 4 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกลำดวน(เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) หัวหน้าชื่อ "ตากะจะ" และ "เชียงขัน"
พวกที่ 5 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านอัจจะปะนึง หรือโคกอัจจะ(เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) หัวหน้าชื่อ "เชียงฆะ"
พวกที่ 6 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัด อำเภอศีขรภูมิปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ "เชียงไชย" อำเภอรัตนบุรีในสมัยนั้น กลุ่มที่มาตั้งรกราก คือกลุ่มของ เชียงสี และพรรคพวกอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ฝั่งไทยเพื่อแสวงหาถิ่นอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร และปลูกบ้านเรือน และได้พบกับถิ่นอุดมสมบูรณ์ มีห้วยหนอง คลองบึง ป่าไม้ สัตว์ป่าจำพวกเต่าเป็นจำนวนมากจึงถิ่นฐานที่บ้านกุดหวาย หรือรัตนบุรีในปัจจุบัน เชียงสี เป็นคนมีวิชาอาคมมากซึ่งเป็นหัวหน้าทีม พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ และพระอนุชาได้ขอให้เชียงสีช่วยติดตามช้างให้ เชียงสีจึงรวมพรรคพวก ทั้ง 5 คน คือ เชียงปุม เชียงฆะ เชียงชัย เชียงขัน และเชียงสง ช่วยออกติดตามช้างจนถึงเขตแดนเขมรจึงจับช้างทรงได้คืน พระเจ้าอยู่หัวสุริยาอมรินทร์ได้ขอผูกเสี่ยว กับกลุ่มทั้ง 6 คน แล้วเสด็จกลับกรุงศรี และภายหลังเสี่ยวทั้ง 6 ได้รับพระราชทานยศฐาบรรดาศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง ยกฐานะหมู่บ้านเป็นเมืองขึ้นตรงต่อพิมาย ซึ่งเชียงสีได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขั้นหลวงมีชื่อใหม่ว่า "หลวงศรีนครเตา" ปกครองเมืองกุดหวาย หรือเมืองรัตนบุรี ด้วยความสงบสุขเรื่อยมา เชียงสีได้ส่งส่วยตามประเพณีเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีจนได้รับบรรดาศักดิ์สูงจาก "หลวง" เป็น "พระ" ปกครองเมืองเดิม และได้เพิ่มชื่อต่อท้ายว่า "ท้าวเธอ" เป็น พระศรีนครเตาท้าวเธอ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนบุรี" ตามชื่อของห้วยแก้วที่ขึ้นอยู่ 2 ฝั่งห้วยอย่างหนาแน่น ต่อมาพ.ศ. 2439 เมืองรัตนบุรี ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงกับจังหวัดบุรีรัมย์ และ ในปี พ.ศ. 2459 ได้โอนมาอยู่ในความปกครองของจังหวัดสุรินทร์ตราบปัจจุบันนี้ โดยมีนายอำเภอคนแรก คือ หลวงสรรพกิจ โกศล
ที่มา เอกสารนำเสนองานเลิมฉลองการก่อตั้งเมืองรัตนบุรี ครบ ๑๐๐ ปี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ขายข้าวหอมมะลิเพื่อแลกปุ๋ย


ในวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 2533 นายยินดีได้นำข้าวจำนวน 154 ถุงปุ๋ย ช่างทีละ 4 -5 ถุง ได้รวมแล้ว 5,080 กิโลกรัม นำใส่รถหกล้อเก่าคู่ใจ Hino Km505 อายุกว่า ๒๕ ปี ออกเดินทางจากบ้านขี้เหล็ก หมู่ ๖ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เวลาประมาณ สิบนาฬิกา ถึงที่หมายอำเภอสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ไกลจากหมู่บ้าน 48 กิโลเมตร พอมาถึงเจ้าหน้าที่โรงสีข้าวแห่งหนึ่งก็ทำการวัดร้อยละของปริมาณข้าวสาร รอประมาณ ๑๕ นาที ผลก็ทราบว่า ร้อยละของข้าวสารนายยินดีอยู่ที่ ร้อยละ 24 ซึ่งหมายถึง ข้าวเปลือกจำนวน 100 กรัม มีข้าวสารที่ไม่แตกหักเลยอยู่ 24 กรัม
นายยินดีก็คำนวณปริมาณข้าวสารของตนเอง โดยเอา 5,080 กิโลกรัม * 24% เท่ากับ 1219.2 กิโลกรัม ที่เหลือจำนวน 3860.8 กิโลกรัม ก็ต้องทิ้งไป
โรงสีคำนวณราคาข้าวสารชั้น ๑ ที่ราคา 45.50 บาท ดังนั้นนายยินดีขายข้าวได้ กิโลกรัมละ 24 * 10 gram/kg(1000) * 38.50 B =10.68 บาท บวกด้วยแกลบและหัวรำได้อีก 1.25 บาท รวมเป็นเงิน ที่นายยินดีจะขายข้าวเปลือกหอมมะลิสุรินทร์ได้ราคา 10.86 + 1.25 = 12.11 บาท
นันหมายความว่าปริมาณข้าวอีกกว่า สามพันกิโลกรัมนั้นราคาเท่ากับแกลบ...
ความหวังว่าจะนำข้าวแลกป๋ยยูเรียที่ถุงละประมาณ 580 บาท ก็ต้องใช้เงินข้าอย่างน้อย 2 ถุงในการแลกซื้อ

ชีวิตที่เลือกได้และถูกเลือกได้เช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาตอซังในนามีปริมาณที่มากเกินไป

จากประสบการณ์แปลงนาที่มีตอซังนานเกินห้าปี มีปัญหา รากข้าวเน่า แก้ไม่ตก อาจเป็นเพราะจุลินทรีย์ หรือ ซิลก้า มีปริมาณที่สูง ต่างจากแปลงนาที่มีการเผากลบ ชัดเจน ดังนั้นปริมาณตอซัง หรือฟางข้าที่พอเหมาะกับสภาพดิน จึงเป็นทางเลือก (ข้อมูลเบื้องต้น : สภาพดิน ชุดดินเหนียวปนทราย ปริมาณธาติอาหารต่ำ แถบลุ่มน้ำมูล อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ข้าวใบใหญ่ สูงประมาณ ๑๒๐-๑๗๐ ซ.ม. น้ำตลอดช่วงอายุข้าว-น้ำมาก ข้าวที่นิยมปลูกเป็นข้าวมะลิ ๑๐๕ หว่านก่อนเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือน พฤศจิกายน)
ผลผลิต เมล็ดข้าวเล็กเรียวโค้งสำหรับนาอินทรีย์ ถ้าเป็นนาผสมผสานเคมี ข้าวรวงใหญ่ เมล็ดอวบอ้วน ขาวตรงความโค้งน้อย ปริมาณมากกว่าเท่าตัว ข้าวสุกจะขาดความนุ่มนวลต่างกันอย่างชัดเจน
เรายังขาดข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณที่เหมาะสมของตอซัง ทั้ง ๆ สมมุติฐานของประโยชน์ตอซังกับแปลงนานั้นมากพอสมควร งานวิจัยที่ขาดความต่อเนื่องทำให้การนำความรู้ที่ได้ไปใช้แบบลองผิดลองถูกอีกเช่นเคย ไม่ทราบถึงปัจจัยแทรกซ้อนต่าง ๆ และการควบคุม ก็จะกลายเป็น จุลินทรีย์ระบาด มากกว่าประโยชน์เนื่องจากการขาดความรู้ที่เพียงพอต่อการจัดการ

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลูกชาวนาหรือลูกเทวดา

เรื่องง่าย ๆ ของการทำนากลับกลายเป็นการมักง่ายของการทำนา
ถ้ากล่าวถึงความยากง่ายแล้ว การทำนาถือว่าเป็นเรื่องง่ายของชาวนา ตั้งแต่การเตรียมพันธุ์ข้าว เตรียมแปลงนา จัดการระบบน้ำ ดูแลรักษาและบำรุง การเก็บเกี่ยว ส่วนที่ยากของชาวนาที่แท้จริง คือการจัดจำหน่าย เมื่อชาวนาสามารถที่จผลิต เท่าไหร่ก็ได้ แต่ความสามารถเชิงการตลาดน้อยมาก
ผู้ที่ทำนาโดยลัดขั้นตอนต่าง ๆ หรือเพียงแค่ มุ่งแต่ด้านการเก็บและจำหน่ายเท่านั้น กลายเป็นผู้ประสบผลสำเร็จมากกว่าชาวนา จะทำอย่างไรให้กระบวนการทั้งหมดเป็นของชาวนาอย่างแท้จริง ถึงแม้นจะจัดตั้
สหกรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากความรู้ความเข้าใจ ของชาวนาที่มองเอกสาร หรือธุรกรรมต่าง ๆ เป็นความยาก
จะทำอย่างไร ชาวนาจะเข้าใจ
มีเพียงความหวังของชาวนาคือ ลูกชาวนา เขาภูมิใจไหมที่มีพ่อแม่เป็นชาวนา และลูกพร้อมที่จะสานต่ออาชีพชาวนาแทนบุพการ การจัดการศึกษาที่ทำให้ลูก ๆ ทิ้งความเป็นชาวนา นั้นหมายถึง วิชาชาวนาไม่มี
ความยั่งยืนจะยืนอยู่ได้ด้วยการสานต่อ เราจงมาร่วมสร้างวิถีของชาวนาด้วยชาวนาศึกษา