วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เบื้องต้นสำหรับข้าวที่ตั้งท้องและออกรวง





ลักษณะทั่วไปของข้าว





ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ
ข้าว เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้า ในประเทศไทย ข้าวหอมมะลิมีสายพันธุ์ในประเทศและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก



ภาพ 1 ลักษณะทั่วไปของข้าว
ข้าวที่นิยมบริโภคมีอยู่ 2 สปีชีส์ใหญ่ๆ คือ
Oryza glaberrima ปลูกเฉพาะในเขตร้อนของแอฟริกาเท่านั้น Oryza sativa ปลูกทั่วไปทุกประเทศ ข้าวชนิด Oryza sativa ยัง แยกออกได้เป็น
1.1. indica มีปลูกมากในเขตร้อน
1.2. japonica มีปลูกมากในเขตอบอุ่น
1.3. Javanica
ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพวก Indica ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้ ข้าวยังได้ถูกมนุษย์คัดสรรและปรับปรุงพันธุ์มาโดยตลอดตั้งแต่มีประวัติศาสตร์การเพาะปลูก ข้าวในปัจจุบัน จึงมีหลายหลายพันธุ์ทั่วโลกที่ให้รสชาติและประโยชน์ใช้สอยต่างกันไป พันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของไทย คือ ข้าวหอมมะลิ



การจำแนกทางวิทยาศาสตร์
ข้าวหอมมะลิมีชื่อวิทยาศาสตร์ Oryza sativa สามารถจำแนกทางวิทยาศาสตร์ดังนี้




อาณาจักร
Plantae
ส่วน
Magnoliophyta
ชั้น
Liliopsida

อันดับ
Poales
วงศ์
Poaceae
สกุล
Oryza

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะที่สำคัญของข้าวแบ่งออกได้เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต และลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ ดังนี้
ลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต
ลักษณะที่มีความสัมพันธุ์กับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ
1. ราก รากเป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน
2. ลำต้น มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนใบของต้นข้าว ปกติมีประมาณ 20-25 ปล้อง ใบ ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ



ลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์
ต้นข้าวขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์ ได้แก่ รวง ดอกข้าวและเมล็ดข้าว
1. รวง รวงข้าว (panicle) หมายถึง ช่อดอกของข้าว (inflorescence) ซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง
2. ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย (palea) ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้
3. เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ
ภาพ 3 ต้นข้าวที่กำลังออกรวง
ประเภทของข้าว
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้า และ ข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุกอย่างแต่ต่างกันตรงที่เนื้อแข็งในเมล็ด
1. เมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วยแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 15-30
2. เมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยแป้งอมิโลเพคติน (Amylopectin) เป็นส่วนใหญ่และมีแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 5-7



เครืองจักรที่นายยินดีใช้


รถเกี่ยวนวด ขนาดหน้ากว้าง 2000 cm จำนวน จำนวนใบตัด 24 ใบ ตู้นวด ขนาด 4 ฟุต ลูกนวด เส้นผ่าศูนย์กลาง๒๒ นิ้ว วงตีใน ๑๔ นิ้ว เครื่องยนต์ ๓๐๐๐ ซีซี ๖๕ แรงม้าที่ ๒๒๐๐ รอบต่อนาที แรงบิด NA น้ำหนัก ๒,๘๖๐ กิโลกรัม

ข้อมูลเบื้องต้น

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตารางการทำนาประจำปี 2551


ในการทำนาปีของชาวนาในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีต้นทุนกำไรที่แสดงได้ดังตารางข้างต้น ซึ่งเป็นข้อมุลที่เก็บรวบรวมจากการทำนาปีประจำปี ๒๔๔๑ ของข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ โดยรายละเอียดคลิกที่ภาพ
การทำนาของนายยินดี
นายยินดีและครอบครัวประกอบอาชีพรับราชการ แต่บุพการีดำรงชีพด้วยการทำนา ดังนั้นการสืบต่อแห่งวิชีชาวนาที่เลี่ยงไม่ได้จึงต้องทำ การผสมผสานวิทยาการใหม่ ๆ ทำให้รูปแบบการทำนาเริ่มปรับตัวให้ทันสถาวะเศรษฐกิจที่บังคับวิถีที่ไม่ใช่เพื่อความอยู่รอด แต่เป็นวิถีที่เลี่ยงการถูกเอารัดเอาเปรียบของผู้ที่ใช้ช่องทาง ทางกฎหมาย โดยมุ่งประสงค์ในพื้นนาน้อยของชาวนา ซึ่งนายทุนดังกล่าวกำลังใช้วิถีทุกอย่าง ดังนักต่อสู้เพื่อชาวนาได้กล่าวว่า
ข้าว มีทั้งวัชพืชและศัตรูพืช รบกวน
วัชพืชที่รบกวนในนาข้าว ในท้องถิ่นแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน เช่น โสน ต้นเทียนนา ซ้ง เกาะ กก ผักบุ้ง อื่น ๆ
ศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ย หนอนกอ หอย สัตว์น้ำบางชนิด หนู แมลงต่าง ๆ
นอกจากนี้แล้ว ยังมีเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มาทำลายข้าว ได้แก่ เชื้อรา หรือสภาวะปัจจัยต่าง ๆ ของ น้ำ ดิน ปุ๋ย เป็นต้น
ความร้ายแรงดังที่กล่าวมาข้างต้น ชาวนามีภูมิปัญญาที่แกร่งพอที่จะรับมือได้ ยกเว้น ศัตรูพืชของข้าวที่ร้ายแรงที่สุด คือ ศัตรูพืชที่เป็นนักการเมือง และนายทุน ซึ่งมุ่งหวังทางการเมือง และหวังในทรัพย์ ใช้กลไกลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เล่นงานจนชาวนากลายเป็นทาสวิถีของการเมืองในที่สุด
ขอบคุณคำกล่าวของนายกสมาคมผู้ค้าข้าวแห่งประเทศไทย ที่เป็นมิตรกับชาวนาด้วยคำกล่าวที่ว่า "ถ้าวันหนึ่งชาวนาเป็นล่มหายไป ผมในฐานะผู้ค้าข้าวที่พึ่งชาวนาจะอยู่ได้อย่างไร" คำถามที่อยากให้รัฐมองและคืนรัก เอาใจใส่ อย่างเอาปัญหาที่เกิดบางส่วนมาปนปัญหาส่วนใหญ่ ชาวนานำรายได้แก่ประเทศ จนกลายเป็นสินค้าควบคุมมาตั้งแต่โบราณกาล เลี้ยงประเทศทั้งประเทศ และทั่วโลก แต่ชาวนากลับจน ถึงขั้นจนตรอก ทิ้งรกร้างเข้ากรุงตายดาบหน้า
ข้าวทุกเมล็ดที่กินเข้าไปในปัจจุบันเปรียบได้กับการกินอุตสาหกรรมวัตถุ มิใช่วิถีข้าวจากใจของชาวนา ผมวอนภาคต่าง ๆ อยากให้คนที่มีความสามารถพัฒนาปรับปรุงอุตสาหกรรมข้าว กลายเป็นแห่งที่เรียกว่า อู่ข้าวอู่น้ำ ตามพระราชประสงค์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ด้วยความสำนึกของข้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในความเป็นชาวนาจะพยายามดำรงคงไว้ซึ่งวิถีของชาวนาให้ไว้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เผื่อความสนใจ ตอนที่เราคนไทยต้องซื้อข้าวเมล็ดละบาทกิน "น้ำตาจะหลั่งโลงเมื่อเห็นศพ"
การทำนาที่พยายามแปลภูมิปัญญาให้อยู่ในรูปวิทยาศาสตร์ ก็มุ่งหวังเพื่อให้การสื่อสารหรือทำความเข้าใจในเชิงวิทยาศาสตร์มีมากขึ้น บทความแรกนี้เป็นการแสดงเจตจำนงเพื่อให้คนไทยที่บรรพบุรุษได้แลกเอาไว้ด้วยเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องผืนดินแห่งข้าวที่มีค่ามากกว่าทองคำ